สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     
  2. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ท่านนักรบเงาครับ มีครั้งหนึ่งผมเคยนั่งฝังเสียงตามสายที่เขาอ่านจากพระสูตรที่พระพุทธเจ้าท่านสนทนากับพระอานนท์ พระพุทธเจ้าท่านก็เล่าให้พระอานนท์ว่าท่านเข้าฌาน1-2-3-4-5-6-7-8จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ และท่านก็ดับกิเลสตรงนี้ มันพอจะลงตัววิชาธรรมกายที่ท่านได้ศึกษาหรือเปล่าครับท่าน
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]


    เรื่ิองอธิษฐาน ต้องระวังให้ดี บางทีกลายเป็นการผูกมัดตัวเอง ผูกมัดตัวเองไม่ใช่แต่เพียงอธิษฐาน บางคนว่าฉันต้องรักษาวาจาสัตย์ พูดอะไรออกไปก็ต้องเป็นตามนั้นเสมอไป ถ้าพูดถูกเป็นตามนั้นก็สมควร แต่ถ้าพูดผิดด้วยอารมณ์ บางทีก็มีอารมณ์รัก โกรธ เกลียด ชอบ ชัง หลง กลัว อะไรๆก็แล้วแต่ พอเราพูดว่าต่อไปนี้ ฉันจะไม่ยังงั้นล่ะ ฉันจะไม่อย่างงี้ล่ะ หรือว่าต่อไปนี้ฉันจะทำอย่างนั่้น ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ฉันก็จะไม่เป็นอย่างนี้

    บางทีเราหลงเข้าใจผิดแล้ว เลยอธิษฐานหรือพูดพลาดไปผิดๆ ถ้าไม่ระวังให้ดี หรือถ้ารู้ว่าอธิษฐานผิด พูดผิดแล้วไม่แก้ให้ถูก ก็เสียผลอย่างใหญ่หลวงได้

    เพราะฉะนั้น การถือสัจจะหรืออธิษฐานนี่ ให้จำไว้ว่า เราจงทำในขณะที่เรามีสติสัมปชัญญะดี มีปัญญาแจ้งชัดดีแล้ว ถ้ายังไม่แจ้งชัดพอ ก็อย่าเพิ่งอธิษฐาน อย่าเพิ่งลั่นวาจา ตรงนี้สำคัญ

    ถ้าลั่นวาจาแล้ว ภายหลังเรารู้ว่าไม่ถูก ไปพูดเข้าไปแล้ว เลยกลับคำไม่ได้ หรืออย่างเช่นการอธิษฐานนี่ บางท่านอธิษฐานกินเจ มังสวิรัติ ตลอดชีวิต บางรายก็เป็นโรคขาดสารอาหาร เลยเหี่ยวแห้ง เพราะร่างกายต้องการสิ่งที่มีประโยชน์ มาบำรุงพอสมควร แต่ไม่ใช่ว่าต้องรับประทานอาหารที่ดีๆเกินไป จนเกินเหตุ เราต้อง "โภชเนมัตตัญญุตา" คือรับประทานแต่พอควร ถ้าอดอาหารจนร่างกายไม่มีกำลัง พระพุทธเจ้าทรงถือว่าเป็น "อัตตกิลมถานุโยค" เป็นการทรมานร่างกายจนเกินเหตุ ไม่ใช่ทางให้พ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางให้เกิดปัญญา ที่จะแทงตลอดอริยสัจได้ นี่ต้องระวัง เรื่องนี้สำคัญ


    .............................
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    ปฐมเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    เบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ คือ อะไร

    ตรงช่องว่างกลางดวงจำ มีกลุ่มปรมาณูธาตุน้ำหล่อ

    เลี้ยงอยู่ ดวงคิดหรือจิต ลอยอยู่ในน้ำนั้นอีกที กลุ่มปรมาณู

    ธาตุน้ำนี้เรียกกันทั่วไปว่า “น้ำเลี้ยงหัวใจ” ซึ่งที่ถูกนั้น ควรเรียก

    ว่าน้ำเลี้ยงจิต ปรมาณูธาตุน้ำนี้มีประมาณ 1 ซองมือ หรือ 1

    อุ้งมือ น้ำเลี้ยงหัวใจนี้เอง เป็นสิ่งเดียวที่ได้รับสืบเนื่องกันมา

    จากบรรพบุรุษของตน เมื่อใดจิตสงบไม่ซุกซน ไม่มีอกุศล น้ำ

    เลี้ยงก็ใสสะอาด ถ้าผู้ใดใจประกอบด้วยราคะ น้ำเลี้ยงใจก็จะ

    มีสีแดง ถ้ามีโทสะ น้ำก็มีสีน้ำเงินแก่ ถ้ามีโมหะ น้ำเลี้ยงใจก็

    ขุ่นมัวเป็นสีเทา เมื่อน้ำเลี้ยงใจนี้เปลี่ยนไป ดวงใจทั้งดวงก็มี

    สีเปลี่ยนตามไปด้วย ฉะนั้นเมื่อเห็นดวงใจก็เห็นสีของดวงใจ

    ทันที



    คนที่มีจิตฟุ้งซ่านหรือนอนไม่เหลับ ดวงจิตจะลอยอยู่

    เหนือระดับน้ำ ถ้าลอยมากๆก็อาจเสียสติ อย่างที่เรียกว่า

    ประสาทหลอนหรือบ้าเอะอะไปเลย หรืออย่างเบาะๆก็เป็นคน

    ใจลอย คนที่ตื่นอยู่ตามปกติ ดวงจิตจะลอยอยู่ในน้ำครึ่ง

    หนึ่ง เหนือน้ำครึ่งหนึ่ง ถ้าจมเสมอน้ำเลี้ยงก็เป็นจิตของคน

    หลับ ถ้าจมมากเกินไป เจ้าของก็มีสติไม่ดีเช่นกัน เรียก

    ว่า “บ้าซึม” การแก้โรคจิตโดยใช้ธรรมโอสถ ก็คือ การทำ

    ให้จิตลอยอยู่ตามปกติ เข้าใจว่าทางแพทย์ก็คงถือหลักเดียว

    กันนี้ กล่าวคือ ถ้าบ้าเอะอะก็ให้ยานอนหลับและยาบำรุง

    ประสาท ถ้าบ้าซึมก็ให้ยากระตุ้นประสาทหรือทำช็อก



    ดวงปฐมมรรคอันประกอบด้วยธาตุทั้ง 6 นี้ คือ ศูนย์

    รวมของ ส่วนต่างๆของร่างกาย ถ้าศูนย์รวมนี้มัวหมอง ก็

    แสดงว่าธาตุต่างๆในร่างกายผิดปกติ ไม่สม่ำเสมอ จะมีการ

    เจ็บไข้ได้ป่วยเกิดขึ้น ศูนย์รวมนี้เองที่เรียกว่าขันธโลก หรือขันธ์ 5



    ดวงอากาศธาตุภายในดวงปฐมมรรค ก็คือ อากาศโลก

    อันเป็นศูนย์บังคับอากาศตามช่องว่างต่างๆในร่างกาย เช่น

    ช่องท้อง ช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น



    เมื่อเราเจริญสมาธิ กล่าวคือ ทำเห็นจำคิดรู้ให้เป็น

    หนึ่ง แล้วเอาตัว“หนึ่ง”นี้ จี้ไปตรงกลางดวงปฐมมรรคเห็นจำ

    คิดรู้ หรือเนื้อหนังของเห็นจำคิดรู้นี้เองคือสัตว์โลก ผู้ปฏิบัติ

    กรรมฐานจะต้องรู้ขันธโลก สัตว์โลก อากาศโลกนี้ให้ชัดเจน

    จึงจะใช้ได้



    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ขันธ์ 5 หรือดวงปฐมมรรค คือผล

    ของการ ปรุงแต่งของบาปบุญ ที่ติดตัวเรามาแต่เกิดนั้นเอง

    ดวงปฐมมรรคนี้ก็คือธาตุธรรม ธาตุได้แก่ดิน น้ำ ลม ไฟ

    อากาศ และวิญญาณ เมื่อมีธาตุแล้ว ก็ต้องมีธรรมเป็นที่

    อาศัย ถ้าไม่มีธรรม ธาตุก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกัน

    และกัน




    การเข้าถึงธาตุธรรมได้แก่การดึงจิตที่ลอยไปยังที่

    ต่างๆ กลับยังที่ตั้งเดิมตรงศูนย์กลางกาย ให้หยุดอยู่ที่นั่น







    โดยทำนองเดียวกับ การส่งใจไปจดหรือคิดถึงคนนี้คนโน้น หรือ

    จดสิ่งนั้นสิ่งโน้น ตามความซุกซนของใจ เมื่อใจจดธรรมอัน

    เป็นอาหาร หรือที่รองรับของใจได้ถูกส่วน เลิกซุกซนแล้ว ใจ

    ก็หยุด ธาตุธรรมหรือดวงปฐมมรรคก็ปรากฏให้เห็น


    เมื่อหยุด ดวงเดิมจะตกมายังศูนย์ที่หก ปรุงแต่งด้วยธาตุ+ธรรม

    แล้วลอยเด่นเป็นดวงใหม่ปรากฏ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่7 นั่นเอง


    --------------------------------------------------------
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]



    [​IMG]






    โดยทั่วไป มักเข้าใจว่าจิตคือวิญญาณ และวิญญาณ
    ก็คือจิต ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง จิตคือตัวคิด วิญญาณ
    คือตัวรู้ ไม่เหมือนกัน ทั้งจิตและวิญญาณตามความเข้าใจ
    ของสามัญชนนั้น วิชชาธรรมกายเรียกว่า “ดวงใจ” อันที่จริง
    แล้วควรเรียกว่า “หัวใจ” แต่คำว่า “หัวใจ” ก็พากันเข้าใจว่า
    คืออวัยวะที่มีหน้าที่สูบฉีดโลหิต ไปสู่ร่างกายเสียแล้ว จึงจำ
    เป็นต้องใช้คำว่า “ดวงใจ” ในที่นี้

    ในปัจจุบันนี้ มีปัญหาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ในวงการ
    ต่างๆว่า ดวงใจหรือจิตอยู่ที่ไหน วงการแพทย์เห็นว่า จิตอยู่
    ที่มันสมอง สำนักวัดมหาธาตุและวงการอภิธรรม เข้าใจ
    ว่า จิตอยู่ที่ถุงน้ำเลี้ยงหัวใจภายในหัวใจ สำนักวัดปากน้ำว่า
    จิตอยู่ที่เบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ที่ตรงกลางกาย คือตรงกับสะดือ
    เข้าไปข้างใน

    ความเห็นของ วงการแพทย์และของสำนักวัด
    มหาธาตุ กับวงการอภิธรรมเป็นความเห็นที่นำความมหัศจรรย์
    ของจักรวาลแห่งจิต ไปปนกับความมหัศจรรย์ของระบบ
    สรีรศาสตร์ เช่นเดียวกับการสังเกตเห็นว่า เขื่อนหรือทำนบ
    สามารถกั้นคลื่นและกระแสน้ำได้ ก็เลยเหมาเอาว่า ผ้าหรือ
    หนังสามารถกั้นคลื่นวิทยุได้ ซึ่งความจริงไม่เป็นเช่นนั้น มัน
    สมองเป็นเสมือนเครื่องรับกระแสจิต จากจักรวาลจิต แล้วส่งต่อ
    ไปยังระบบต่างๆของร่างกาย สำหรับความเห็นของวัด
    มหาธาตุและสำนักอภิธรรม ไม่มีอะไรดีไปกว่า นำผลปฏิบัติ
    แบบไตรลักษณ์มาค้าน กล่าวคือถ้าจิตอยู่ที่หัวใจหรือสมอง
    ทำไมญาณวิถีเกิดขึ้นในอนุโลมญาณ จึงพุ่งจากตรงสะดือไป
    ยังกลางกระหม่อม

    ศูนย์กลางของตัวเรานี้ อยู่กลางลำตัวตรงสะดือเข้า
    ไปข้างใน ที่นั่นมีเครื่องหมายเป็นดวงกลมๆ ขนาดเท่าดวง
    จันทร์ มีสภาพคล้ายปรมาณูของธาตุจับกลุ่มรวมตัวกัน วิชชา
    ธรรมกายเรียกดวงนี้ว่า “ดวงเห็น” มีหน้าที่เป็น"กาย"

    ในเนื้อของดวงเห็นนี้ กลุ่มปรมาณูอีกกลุ่มหนึ่ง แทรก
    ซึมอยู่เป็นดวงกลม รอบตัว มีขนาดเท่ากับเบ้าตา เรียก
    ว่า “ดวงจำ” คือเห็นแล้วก็จำได้ หรือทำหน้าที่เป็น“ใจ”

    ตรงกลางดวงจำมีช่องว่าง และมีกลุ่มปรมาณูอีกกลุ่ม
    หนึ่ง ลอยอยู่เป็นดวงกลม ขนาดเท่าดวงตาดำข้างนอก เรียก
    ว่า“ดวงคิด” แม่ธาตุตรงกลางปรมาณูดวงคิดนี้คือ“จิต”

    ในเนื้อของดวงคิด มีกลุ่มปรมาณูอีกกลุ่มหนึ่ง แทรกซึม
    อยู่เป็นดวงกลม มีขนาดเท่าดวงตาดำข้างในเรียกว่า “ดวงรู้”

    แม่ธาตุตรงกลางดวงรู้คือ “วิญญาณ” เราจะรู้อะไร
    ก็ต้องได้เห็น เมื่อเห็นแล้วก็จำ แล้วก็คิด แล้วจึงจะรู้ ดวงเห็น
    จึงเป็นแม่ธาตุของดวงรู้ คุณสมบัติของเห็น จำ คิด รู้
    ทั้งสี่อย่างนี้ ผสมผสานรวมกันเป็นหนึ่ง เรียกว่า“ดวงใจ”
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ

    ความเกิดก็เป็นทุกข์
    ความแก่ก็เป็นทุกข์
    ความเจ็บก็เป็นทุกข์
    ความตายก็เป็นทุกข์
    ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
    ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
    ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้ข้อนั้น ก็เป็นทุกข์

    โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
      อุปาทานขันธ์  ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์หรือขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ,  ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า รูปูปาทานขันธ์,  เวทนูปาทานขันธ์,  สัญญูปาทานขันธ์,  สังขารูปาทานขันธ์  วิญญาณูปาทานขันธ์

    อุปาทานขันธสูตร

            [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ รูปูปาทานักขันธ์ ๑   เวทนูปาทานักขันธ์ ๑    สัญญูปาทานักขันธ์ ๑   สังขารูปาทานักขันธ์ ๑   วิญญาณูปาทานักขันธ์ ๑   ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ อุปาทานักขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯ  

    (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓)



    พุทธพจน์ แสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
    ปัญจขันธสูตร
            [๙๕] ....."ภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดงขันธ์ ๕  และอุปาทานขันธ์ ๕    เธอทั้งหลายจงฟัง"
            "ขันธ์ ๕  เป็นไฉน ?    รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ    อันใดอันหนึ่ง   ทั้งที่เป็นอดีต    อนาคต    ปัจจุบัน    เป็นภายในก็ตาม    ภายนอกก็ตาม    หยาบก็ตาม    ละเอียดก็ตาม    ทรามก็ตาม    ประณีตก็ตาม    ไกลหรือใกล้ก็ตาม   เหล่านี้  เรียกว่า  ขันธ์ ๕".....
             [๙๖] ....."อุปาทานขันธ์ ๕  เป็นไฉน ?    รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ    อันใดอันหนึ่ง    ทั้งที่เป็นอดีต    อนาคต    ปัจจุบัน    เป็นภายในก็ตาม    ภายนอกก็ตาม    หยาบก็ตาม    ละเอียดก็ตาม    ทรามก็ตาม    ประณีตก็ตาม    ไกลหรือใกล้ก็ตาม    ที่ประกอบด้วยอาสวะ  เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน(หรือถูกอุปาทานครอบงำในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)...เหล่านี้  เรียกว่า    อุปาทานขันธ์ ๕"....
    (สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)

             "ภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน   และตัวอุปาทาน   เธอทั้งหลายจงฟัง.
             "รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ   คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน     (ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ  นั้นคือ  อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
    (ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด  หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด  กล่าวคือตัณหา  จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)
    (สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    การปฏิบัติธรรม อย่าคิดว่าเป็นของทำได้ง่าย

    ต้องมีปณิธานมั่นคงและทำจริง ธรรมจะไม่ปรากฏแก่บุคคล

    เพียงแต่ใช้คำพูด เพียงคิดนึก
    -------------------------------------




    วิธีเดินสมาบัติในวิชชาธรรมกายอาจทำได้สองวิธี


    วิธีแรกเป็นวิธีสำหรับผู้มีสมาธิแก่กล้า เมื่อได้ปฐมฌาน

    แล้ว ก็อธิษฐานจิตให้ได้ฌานที่ละเอียดกว่าขึ้นไป แล้วย้อนลง

    มา



    อีกวิธีหนึ่ง

    เริ่มด้วยการดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หรือ ปฐมมรรค
    ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ให้เห็นเป็นดวงใส
    แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางด้วยฌาน

    ได้ 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา สัณฐานกลมใส

    เหมือนกระจกส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน



    แล้วธรรมกายนั่งบนนั้น ดังนี้เรียกว่าธรรมกายเข้าปฐมฌาน ล้วเอาตาธรรมกายที่

    นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ ให้เห็นเป็น

    ดวงใส แล้วขยายส่วนให้เท่ากัน นี่เป็นทุติยฌาน เอา

    ธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ได้จากศูนย์กลางกายรูปพรหม และ

    อรูปพรหม จะได้ตติยฌานและจตุตถฌานตามลำดับ แล้วเอา

    ธรรมกายเข้าฌาน คือ นั่งอยู่บนฌานนั้น เหล่านี้เป็นรูปฌาน

    ต่อจากนี้ไป ให้ใจธรรมกายน้อมไปในเหตุว่าง หรือ ตรงกลาง

    ของปฐมฌาน จะเห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน ธรรมกายก็นั่ง

    บนดวงนั้น เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจายตนฌานดัง

    นี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ ในเหตุว่างของ ทุติยฌาน

    อากาสานัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิด วิญญาณัญจา

    ยตนฌาน ธรรมกายนั่งอยู่บนวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ใจ

    ธรรมกายน้อมไปในรู้ละเอียด ในเหตุ ว่างของ ตติยฌาน วิญ

    ญาณัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิดอากิญจัญญายตนฌาน

    ธรรมกายนิ่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ใจธรรมกายน้อม

    ไปใน รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ในเหตุว่างของจตุตถฌาน อา

    กิญจัญญายตฌานก็จางหายไป เกิดเนวสัญญานาสัญญายตน

    ฌานขึ้นมาแทน ขณะนี้ จะมีฌานรู้สึกว่าละเอียดจริง ประณีต

    จริง เอา ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    นั้น ถ้าเข้าฌานตั้งแต่ 1 ถึง 8 เรียกว่า อนุโลม การเดิน

    ฌานในวิชชาธรรมกาย กระทำได้ง่ายกว่าที่เข้าใจกันโดยทั่ว

    ไปมากนัก



    อันที่จริงนั้น เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ย่อม

    ถือได้ว่า ได้เห็นอริยสัจ 4 ด้วย


    แต่ในด้านการปฏิบัติ เราจะต้องเดินฌานแทงตลอดอริยสัจ 4 ทุกระยะ
    มิฉะนั้นแล้ว วิปัสสนาญาณจะไม่เกิดขึ้น
    ดวงอริยสัจ 4 นี้ ซ้อนอยู่ที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นเอง



    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก

    เท่าไข่แดงของไก่



    -ดวงเกิด มีสีขาวใส

    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า

    ใหญ่ก็แก่มาก

    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด

    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที

    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า

    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์

    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ

    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย

    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที



    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน

    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง

    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย

    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด



    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง

    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด

    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ

    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม

    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา



    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์

    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ

    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง

    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย

    ไปฉะนั้น



    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล

    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด

    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก



    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ



    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่

    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์

    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ



    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง

    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร

    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ



    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด

    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้

    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ



    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียน

    อย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการ

    ปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่

    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ

    มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน



    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่าง

    การปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจ

    จธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้น

    จากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ

    (4x3=12) ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ใน

    การขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่ นิพพิ

    ทาญาณ ที่นั้น ฐานทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการ

    เป็น ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 (โปรดดูปฏิสัมภิทามัคค์ มหา

    วรรคญาณกถา ข้อ 10 ถึงข้อ 29 ) ทำให้สามารถกำหนดรู้

    อนิจจัง และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้ อริยสัจ และ

    พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธ อันคมกล้า

    ประหารสังโยชน์พินาศไปในพริบตา



    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ หรืออริยสัจ 12 นี้
    จะเห็นและกำหนดรู้ได้ ก็โดยการปฏิบัติทางเจโตสมาธิประการหนึ่ง หรือวิชชาธรรมกาย
    ประการหนึ่งเท่านั้น



    (ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12)



    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ที่เคยปฏิบัติสมถะมาก่อน กำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้
    เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิด
    ตามมา
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]


    ‪#‎อมตวัชรวจีหลวงป๋า‬
    เห็นหรือไม่เห็น จงทำต่อไป จนกว่าจะเห็น แต่ถ้านึกไม่เห็น ปวดเมื่อยเหนื่อยใจหนักหนา ก็นึกให้เห็นจุดเล็กใสเข้าไว้ เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ใจเข้าอยู่ ณ ภายใน ‪#‎การนึกให้เห็นอย่าไปคิดว่า‬ ‪#‎สิ่งที่เห็นเป็นสิ่งที่นึกเอา‬ ‪#‎นึกให้เห็นเป็นอุบายเบื้องต้น‬ ใจประกอบด้วยความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ มารวมกันเป็นจุดเดียวกันตรงเห็นนั้น เพราะฉะนั้น ความจำเป็นในเบื้องต้น ที่นึกให้เห็น จึงต้องทำ แต่อุบายวิธีที่เราจะให้เห็น ตรงนั้นก็ต้องปล้ำกันหลายเพลง เช่นว่า นึกดวงไม่เห็น อาจจะนึกองค์พระก็ได้ นึกง่ายๆคือ ‪#‎นึกว่าในท้องมีลูกแก้วลูกหนึ่ง‬ ประมาณเอา คือใจจะค่อยๆปรับตัวจนหยุดนิ่ง นี่เป็นอุบายอย่างหนึ่ง ซึ่งอาตมาใช้อุบายหลายอย่างเช่นกัน กว่าจะได้เห็น
    ‪#‎แม้กระทั่งดวงไฟ‬ ตรงไหนที่ไหนที่เห็นกลมๆ ก็นึกดวงให้สว่างอยู่ข้างในท้อง ซึ่งใช้ได้เช่นกัน ถ้านึกอย่างนั้นไม่ได้ ก็ให้ท่อง "‪#‎สัมมาอะระหังๆๆๆๆๆ‬" ไป ตรงกลางจุดศูนย์กลาง นึกให้เห็นจุดเล็กใส นิ่งๆไว้ พอนึกเห็นตามสบาย ‪#‎อย่าอยากเห็นจนเกินไป‬ ‪#‎จนไม่ได้เห็น‬ ‪#‎เพราะเพ่งแรงเกินไป‬ จิตที่จะเห็นต้องพอดีๆ เหมือนกับที่ท่านทั้งหลาย ลองเอาปิงปองวางอยู่ในน้ำ จะกดปิงปองให้จมอยู่ในน้ำได้โดยวิธีไหน อุปมาอย่างนั้นฉันใด การเลี้ยงใจให้หยุดให้นิ่ง และจะได้เห็นเอง ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน
    แต่ถ้าจะนึกให้เห็น ‪#‎พอไม่เห็น‬ ‪#‎ก็อึดอัดโมโห‬ หรือหงุดหงิด ‪#‎อย่างนี้ไม่มีทางเห็น‬ ทำให้เป็นธรรมดา เห็นก็ช่าง ไม่เห็นก็ช่าง ‪#‎ความจะเห็น‬ ‪#‎ต้องประกอบด้วยใจสบาย‬ ‪#‎ละวางให้หมด‬ เรื่องในอดีต ปัจจุบัน อนาคต แม้ตัวเราก็ต้องละวางให้หมด วางใจนิ่งๆ พอดีๆ ใจสบาย ก็จะได้เห็นได้ง่าย

    ..........................
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    ปฐมเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    ...........................
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ภพซ้อนภพ

    1. กายในกาย และธรรมในธรรม ณ ภายใน ที่มีศูนย์กลางกายตรงกัน ซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปจนสุดละเอียดนั้น จัดเป็น "ภพเป็น" ซึ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นปัจจุบันธรรม

    2. ส่วนมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก อันเป็นที่อยู่ ที่รองรับ ของ มนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก เทวดา พรหม ที่ประกอบด้วยพื้นดิน หิน บ้าง เป็นสถานที่มีวิมานอันเป็นทิพย์บ้าง เป็นต้นนั้น เป็นภพหยาบ เรียกว่า "ภพตาย"

    ***พระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า)











    หมาบเหตุ...ผลจากการปฏิบัติตามหลักวิชชาธรรมกายที่ตกทอดมาไม่ผิดเพี้ยน จะทำให้ตระหนักชัดถึง "ภพ"ในวงจรปฏิจจสมุปบาท เกิดได้ทุกขณะจิตที่ยังมีอวิชชา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 เมษายน 2015
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    บวชเพื่อพระนิพพาน

    [​IMG]








    วันนี้ยังเป็นวันที่ 23 กรกฎาคม 2527 เป็นตอนที่ 3 สำหรับวันนี้การบันทึก แล้วก็การบันทึกนี่อย่าลืมว่า ผมยังอยู่ในอาการป่วยไข้ ไม่สบายอยู่มาก ว่าตอนเช้าหมอมาให้น้ำเกลือ หมอเขาก็หาว่าผมไม่พัก ผมก็ต้องทนให้หมอดุ เพราะผมก็ไม่พักจริงๆ เพราะผมเองไม่ไว้ใจในชีวิต ไม่ทราบว่าชีวิตนี้มันจะตายเมื่อไหร่ ก็จะตายก็จะเล่าความเป็นมาสู่กันฟังเสียก่อน ว่าประเดี๋ยวเวลาผมตาย คนนั้นเขียนประวัติคนนี้เขียนประวัติ มันก็อาจจะเขียนไม่ค่อยถูก ไอ้ความกระจุ๋งกระจิ๋งเขียนมาก็จะเกิดความขัดแย้งกัน
    ความจริงผมเองก็รู้ประวัติผมเองไม่หมดเหมือนกัน มันจำไม่ได้ครับเรื่องมันนานมาแล้ว เวลากาลผ่านมาถึง 70 ปี คงจำอะไรไม่ได้ดี บางอย่างน่าจะจำได้ก็จำไม่ได้ เอ้ามาคุยกันต่อไป รวมความว่าอารมณ์ที่ท่านฝึกได้แล้ว ขอเตือนไว้นิดนึง ยังไงๆก็หนีนรกกัน บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทก็เช่นเดียวกัน มันจะหนีพ้นหรือหนีไม่พ้น ก็พยายามวิ่งหนีเข้าไว้ก็แล้วกัน
    อันดับแรกอย่าประมาทในชีวิต คิดว่าชีวิตนี้มันจะต้องตาย ยังไงๆเราก็ตายกันแน่
    ประการที่สอง ก่อนจะตายยึดพระพุทธเจ้าพระธรรมพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า คนนึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ไม่เคยทำบุญกุศลอย่างอื่น ตายแล้วไปสวรรค์นับไม่ถ้วน อย่างน้อยที่สุด เราเผ่นขึ้นสวรรค์ก่อนก็ยังจะดี ต่อไปไปพรหมไปนิพพาน ค่อยว่าทีหลังก็ได้ ยึดสวรรค์เป็นเป้าหมายไว้ก่อน การที่จะได้ไปสวรรค์ได้จริงจังมั่นคง จะไม่ลงอบายภูมิ ก็คือทรงศีล 5 ให้บริสุทธิ์ ศีล 5 นั้นจริงๆผมคิดว่าควรจะไปบวกกับกรรมบท 10 ถ้าเป็นศีล 5 จริงๆจะสร้างความสะเทือนใจกับบุคคลอื่น การดับหลังตั้งใจว่าเพื่อไปนิพพานโดยเฉพาะ
    การตั้งใจเพื่อไปนิพพานนี่ ผมเคยถามหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ หรือว่าหลวงพ่อสดก็แล้วกัน เวลานั้นผมไปหาท่าน ท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าคุณ เมื่อท่านเป็นแล้วก็บอกว่า เขาเอาหัวโขนมาตั้งให้มาสวมให้ แต่ฉันจะไม่เต้นไปตามจังหวะของโขน ฉันจะเต้นตามปกติของฉันตามเดิม พระองค์นี้่น่ารักมาก ผมนับถือมาก
    ท่านเคยบอกว่า คนอยากหวังนิพพาน ผมเคยถามว่า คนอย่างกระผมจะไปนิพพานกับเขาได้หรือไม่ครับ ท่านก็บอกว่า เราตั้งใจไว้ก่อน เหมือนคนจะขึ้นต้นไม้ ตั้งใจว่าเราจะขึ้นให้สุดยอด ถ้าบังเอิญเราตั้งใจขึ้นสุดยอด แรงมันไปไม่ถึง มันก็ต้องไปถึงกิ่งใดกิ่งหนึ่ง เป็นที่พักจนได้
    ถ้าเราตั้งใจต่ำ ดีไม่ดีมันขึ้นไม่ถึงเลย ท่านบอกว่าหวังในนิพพานก็เช่นเดียวกัน ถ้ากำลังอย่างอ่อน มันก็ไปค้างที่สวรรค์ได้ กำลังอย่างกลางก็ไปค้างที่พรหม ถ้าเกิดจิตเราไม่นิยมในมนุษย์โลกเทวโลกพรหมโลก ไม่นิยมในร่างกายด้วยความจริงใจ เราก็ไปนิพพาน คติของหลวงพ่อสดนี่ดีมาก บรรดาท่านพุทธบริษัทและญาติโยมทั้งหลาย พยายามปฏิบัติทำตามไว้เถอะ ตัวท่านตายแต่ความดีของท่านยังไม่ตาย
    ผมยอมรับนับถือองค์นี้ว่าท่านมีความดีจริงๆ วิชชาความรู้ผมก็เรียนกับท่านไว้เยอะ ที่มาใช้นี่ ก็เอาของท่านมาใช้เยอะเหมือนกัน ก็ท่านบอกว่าเป็นของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ของท่าน ท้่านค้นคว้าเอามา เป็นพระองค์แรกที่ทำให้คนเข้าใจเรื่องสวรรค์และนรกชัดแจ้งแจ่มใสและนิพพานด้วย
    แต่ก็น่าแปลกทั้งหลวงพ่อสดกับผม ก็คล้ายคลึงกันอย่างนึง คือถูกด่าแหลกเหมือนกัน ด่าท่านเท่าไหร่ ท่านก็ยิ้มตลอดเวลา ผมก็เลยจำยิ้มของท่านมา แต่ก็โปรดอย่ามาด่าต่อหน้าก็แล้วกัน ไม่แน่ใจว่าจะยิ้มออกหรือไม่ออก ถ้าด่าลับหลังก็ด่าไปเถอะ ด่าอย่างไรก็ด่าไป อย่ามาด่าใกล้ๆ ด่าไกลๆไม่ได้ยินไม่เป็นไร

    ....ผมประกาศแล้วน่ะ ว่าผมไม่ใช่พระอรหันต์ ผมไม่ใช่พระอนาคามี ผมไม่ใช่พระอริยะ ผมไม่ใช่พระผู้ทรงฌาน ผมมีคติอย่างเดียวว่า บวชต้องการนิพพาน จะไปได้หรือไม่ได้ก็ช่าง จะไปได้ก็ต้องการจะไป ยังไม่ได้ก็ต้องการ เพราะใจมันต้องการมาแต่กำเนิดเสียแล้ว มันอยากจะไป ชาตินี้ไปไม่ได้ ชาติหน้าก็ต้องไปได้ ชาติหน้าไปไม่ได้ชาติโน้นก็ต้องไปได้ ก็ทีเวลาเรามาเกิดเพื่อแก่ กว่าจะแก่ก็ 70 ปีใช้เวลานานมาก มันก็แก่มาได้ แล้วเรื่องนิพพานถ้าเราไม่ถ้อถอย ทำไมเราจะไปไม่ได้ ใครเขาจะหาว่าเราเป็นอย่างไงก็ช่าง เราปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน
    พระพุทธเจ้าสอนคนให้ทุกคนไปนิพพาน เราก็ต้องการไปนิพพานอย่างพระพุทธเจ้าบอก ท่านบอกว่าธรรมะของท่านให้เลือกปฏิบัติที่เห็นว่าควรปฏิบัติ ไม่ใช่ยกมาทั้งกระบิ ไม่ใช่หนังสือเล่มใหญ่ๆยกมาแล้วก็ทำอย่างนั้นทุกพระธรรม มันไม่มีผล และขอบรรดาพุทธศาสนิกชนและเพื่อนพระภิกษุสามเณร จงอย่าทำตนเป็นเถรใบลานเปล่า คือไปที่ไหนก็คุยว่าฉันเรียนจบที่นั่น ไปเรียนถึงนี่ ถึงโน้น ไอ้แค่เรียนมันไม่ได้ผลหรอก มันต้องปฏิบัติ...



    ***(บางส่วนจากธรรมบรรยาย ของ พระราชพรหมยานเถร หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี เมื่อ 23 ก.ค.2527)
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]

    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ทำๆไป มันหายไป หรือบางทีไม่มั่นคงเห็นๆหายๆ
    ข้อนี้ก็เพราะว่า ในชีวิตประจำวันของเรา เราปล่อยใจให้ เผลอสติให้
    ไปยึดมั่นถือมั่น ในสรรพสิ่งทางโลก ด้วย ตัณหา และทิฐิมากไป เผลอสติมากไป
    ด้วยความกิเลสประเภทโลภะ โทสะโมหะ ของเรา เมื่อมันเข้าไปยึดมั่น
    โดยที่เราไม่เข้าไปรวมใจไปหยุดบ่อยๆเนื่องๆแล้วนั้นแหละ
    ไอ้คุณธรรมหรือธาตุธรรมของเรา มันก็ถูกปิดบังโดยฝ่ายบาปอกุศล
    ซึ่งเขาสอดละเอียดมา เป็นดึงดูด ออกจากศูนย์ ย่อยแยกธาตุธรรมให้กระจายออก รวมกันไม่ติด

    อาตมาจะพูดเฉพาะนิดเดียว ในวิชชา แต่ว่า นั้น เป็นอวิชชาของภาคดำ
    วิชชาของภาคขาว นั้น จะต้องนำเข้ามาสู่ศูนย์กลาง แล้ว ก็รวมธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ เข้าไปถึงสุดละเอียด
    เพื่อเข้าถึงธรรมขาว และมีสภาวะที่เป็นการกำจัดธรรมดำ นี้มันจะต้องเป็นอย่างนั้น
    เพราะฉะนั้นท่านจึง ต้องพึงพิสดารกายอยู่บ่อยๆเสมอ ไปสู่สุดละเอียด และจรดใจอยู่ที่สุดละเอียด
    ยิ่งทำสูงขึ้นไปถึงอายาตนะนิพานเพียงใด หยุดไปที่สุดละเอียดของพระนิพพาน
    หรือธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดที่เราเข้าถึงได้ นั้นแหละ เรียกว่า มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ตกกระแสพระนิพพาน อาการเป็นอย่างนั้น แต่ต้องทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ เมื่อทำบ่อยเพียงใด
    เราก็ตกกระแสมากเพียงนั้น ใจเราก็บริสุทธิ์มาก
    มันต้องทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ เดินยืนนั่งนอน เราต้องทำเสมอ ที่นี้อาการที่ทำนั้น
    มีเคล็ดลับต่อไปว่า เราต้องไม่ลืมพิจารณาสติปัฏฐานสี่ นะ กิเลสของเรา ทุกเมื่อ
    ไม่ว่าใจเราออกนอกกายไปทำงานทำการ พบเพื่อนฝูง พบอารมณ์ที่ไม่งาม ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง
    นี่ เราต้องรีบหลบ เข้าไปในที่ปลอดภัย คือกลางของกลางที่สุดละเอียดอยู่เสมอ
    นี่เราต้องทำ เมื่อมันทำอย่างนี้แล้วก็ ธาตุธรรมเราก็แก่กล้า
    ด้วยความที่มันจะเผลอสติไปบ่อยๆ ก็ลดลง ลดลง มันเป็นอย่างนี้ แล้วที่นี้
    ในขณะที่เราพิสดารอยู่เสมอ เดินยืนนั่งนอน จำไว้ทุ่มไปสุดใจ
    อันนี้ก็เป็นเคล็ดลับเหมือนกัน ธรรมะจะเป็น จำไว้นะ
    เห็นดวงให้หมุดเข้าไปเห็น ณ ภายใน อย่างมองเห็นอย่างนี้ อย่างดูอย่างนี้ หรืออย่างดูจากนี่ไปนี่
    แต่เบื้องต้น มันทำไม่เป็น มันจะต้องดูอย่างนี้
    บางคนก็สอนเห็นองค์พระ เห็นเศียรก่อน มันไม่ใช่ มันเป็นเบื้องต้น นึกให้เห็นอย่างนั้น มันเป็นเบื้องต้น
    แต่คนเป็นแล้วนึกให้เห็นหมดทั้งดวง นึกให้เห็นหมดทั้งองค์พระ นี่เบื้องต้นนะ
    แต่เบื้องกลาง เบื้องปลาย ถ้ามันเห็น ใสขึ้นมา นึกเข้าเป็นเห็นศูนย์กลางจำไว้
    มุดเข้าไปเห็นศูนย์กลาง ใจก็หยุดเข้าไปข้างใน หยุดในหยุดกลางของหยุดในหยุด
    เห็นดวงใหม่ มุดเข้าไปในศูนย์กลางใหม่เข้าไปอีก มันก็ละเอียดเข้าไป
    ใจก็หยุดแน่น เมื่อเห็นกายในกาย ที่พิสดารกายไม่ขึ้น จรดนิ่งๆ
    อย่าใจร้อน จรดนิ่งๆ อย่าใจร้อน ประเดี๋ยวเดียว พอเขาขึ้นมา ดับหยาบไปหาละเอียด
    ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธาตุธรรมที่ละเอียดๆ เป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อไป ที่สุดละเอียด ใจจรดอยู่นั้นนิ่งไม่เลิกไม่รา

    เดินอยู่ ก็ครึ่งหนึ่งของใจ ถ้าเราทำงานก็ลดเหลือ1 ใน 4
    ถ้าเผลอสติไปมีสติรู้เมื่อไร ว่างเมื่อไรทำใหม่ อยู่อย่างนั้น ใจก็สะอาด
    มันก็พิสดารขึ้นเรื่อย แต่ต้องทุ่ม ใจต้องจรด นะ หยุดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่ตลอดเวลา ขึ้นมา ตลอดเวลาจึงจะได้
    จึงจะชนะธาตุธรรมภาคดำ แล้วก็ชนะแบบว่า ขาดลอยอีกด้วย

    แต่ว่าบางทีถ้าเราเผลอเมื่อไหร่เราก็โดนป๊อกลงไปเมื่อนั้น
    มานั่งธรรมทั้งหมดต้องเข้าใจอย่างนี้
    แล้ว เมื่อเราเข้าไปสุดละเอียดธาตุธรรมที่สุดละเอียดเมื่อไหร่
    ภาคผู้เลี้ยง ผู้สอด ผู้ส่ง ผู้สั่ง ผู้บังคับ ผู้ประครองถึงต้นธาตุต้นธรรมของเราก็จะเชื่อมถึงกันหมด
    บุญศักดิ์สิทธิ์บารมีรัศมีกำลังฤทธิ์ อำนาจสิทธิเฉียบขาด
    ซึ่งเป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ของต้นธาตุต้นธรรมก็ส่งถึงเรามากเท่านั้น
    เมื่อส่งถึงเรามากเราก็มีโอกาสบำเพ็ญบารมีมากทำความดีได้มาก
    เมื่อทำความดีได้มาก ภาคผู้เลี้ยงเค้าก็จะเก็บเหตุฝ่ายบุญฝ่ายกุศลทับทวีกลับไปยังต้นธาตุต้นธรรมให้มีกำลังสูงขึ้น
    เมื่อมีกำลังทับทวีสูงขึ้นเพียงไรเราก็มีสิทธิอำนาจในการบำเพ็ญบารมีช่วยตนเองช่วยผู้อื่นได้มากเพียงนั้น
    เข้าใจละยังที่นี้ต้องทำอย่างนี้ เมื่อเข้าไปสุดละเอียดแล้วเราจึงจะรู้ว่าหน้าที่สำคัญของเรา
    มันหน้าที่ช่วยตัวเองด้วยและช่วยสัตว์โลกอื่นด้วย ไม่ใช่หน้าที่เอาตัวรอด
    หน้าที่เอาตัวรอดนั้นถูกมารเค้าหลอก หลอกเอาไปเข้านิพานเฉยๆ
    สบายอยู่ในนั้นเลยไม่ต้องทำอะไร ไม่เกิดไม่แก่ ไม่เจ็บไม่ตายอยู่นั้น ช่วยใครก็ไม่ได้แล้ว
    ช่วยได้ระหว่างที่ตนมีชีวิตอยู่ เข้านิพานก็เลยจุ่มปุ๊กอยู่นั้น
    แต่ก็สบายก็ยังดีแต่นั้นมารเค้าปัดไปนิดนึงถูกหลอก
    แต่จริงๆแล้วหน้าที่แต่ละคนหรือแต่ละสัตว์โลกช่วยตัวเองด้วยและช่วยผู้อื่นด้วยให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
    แต่ถ้าบำเพ็ญบารมีให้สูงขึ้นไปสูงขึ้นไปมันรู้จิตรู้หน้าที่ของเรามากยิ่งกว่านั้น
    นั้นก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวใครเข้าไปรู้แค่ไหนเข้าใจนะ

    วันนี้ก็เลยเล่าให้ฟังเรื่องทั้งหมดเพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจความเป็นมา
    และความที่เราจะต้องเป็นไปเพื่อจะได้ทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ
    ด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยสติปะฐานทั้งสี่ กายเวทนา จิตธรรม
    เพื่อละธรรมดำยังธรรมขาวให้เจริญ เมื่อยังธรรมขาวให้เจริญแล้วสัมมาวายาโมก็เจริญ
    ความเพียรชอบในสี่สถาน เมื่อมันเจริญขึ้นนั้นแหละ สัมมาวายาโมเจริญขึ้น
    สติปัฏฐานสี่ก็ชัดเจนขึ้นเจริญขึ้น อิทธิบาทสี่ อินทรีห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ดมันก็เจริญตาม
    ไปตามอย่างนั้นและนี่แหละองค์ธรรมเครื่องตรัสรู้และมรรคแปดก็เกิดแล้วเจริญขึ้นตามส่วนของแต่ละคน
    มันเจริญขึ้นมาจากธาตุธรรมนะจะบอกให้ จากธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้นะ
    ถึงได้ว่าเป็นบุญเป็นบารมีและเป็นอุปบารมี ปรมัตถบารมี
    เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายต้องบำเพ็ญทั้งทานทั้งศีลภาวนาอย่าให้ขาดเกิดมาจะได้ไม่เสียชาติเกิด
    แล้วก็ไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาได้ยินได้ฟังได้เรียนรู้ได้ปฏิบัติ
    เฉพาะฉะนั้นท่านทั้งหลายได้เข้าใจวิธีปฏิบัติแล้ว เอาละเราเตรียมนั่งกัน
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    หลวงป๋า ตอบคำถามจากการปฏิบัติของผู้เจริญวิชชาฯ

    ซึ่งผู้เข้าถึงธรรมกาย แล้วจะได้เคล็ดวิชชาฯ บางประการ เป็นการตอบแบบทำให้คำศัพท์ยากๆ กลายเป็นวิธีปฏิบัติง่ายๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,298
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +70,450
    อธิษฐานว่า วันนี้ถ้าบุญบารมีพอ ขอให้เห็นดวง แต่ถ้าไม่พอ จะขอหยุดไว้ก่อน ?

    
    เมื่อตอนแยกกลุ่มเริ่มปฏิบัติ ผมได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อพระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี ว่า วันนี้ถ้าผมมีบุญบารมีพอที่จะเข้าถึง รู้วิชชาธรรมกาย ขอให้ผมนึกเห็นดวงแก้วกลมใสในฐานที่ ๗ พร้อมกับนิมิตอื่นๆ อีกที่เป็นสัมมาทิฏฐิ แต่ถ้าไม่มีบุญบารมีพอ ผมก็จะขอหยุดไว้ก่อน เพื่อตั้งหลักครั้งใหม่ พอเริ่มปฏิบัติไป ก็ปรากฏเห็นดวงแก้วกลมใสพร้อมองค์พระที่ใสในขณะเดียวกัน อาการเช่นนี้เป็นอยู่นานพอสมควร ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผม ปรากฏว่าดีขึ้นเป็นอย่างมาก




    ---------------------------


    ตอบ:

    คำอธิษฐานนี้เสี่ยงไปหน่อยนะครับ   เสี่ยงในข้อที่ว่า  ท่านอธิษฐานว่า “แต่ถ้าไม่มีบุญบารมีพอ  ผมก็จะขอหยุดไว้ก่อน  เพื่อตั้งหลักครั้งใหม่”

    ตรงนี้เป็นการอธิษฐานที่ไม่ถูกต้อง  เหตุที่ไม่ถูกต้องเพราะว่า  ถ้าไม่มีบุญบารมี   ก็ไม่ได้มาเรียนหรอกครับ  คือทุกคนมีบุญบารมีด้วยกันทั้งนั้น   ที่กระผมจะพูดหมายถึงอย่างนี้   แต่มีมากมีน้อย  ไม่ใช่ไม่มีคือศูนย์   ไม่ใช่อย่างนั้น   มีบุญบารมีด้วยกันทั้งนั้น

    พระคุณเจ้าเองก็มี    แต่ถ้าบุญบารมียังน้อยอยู่  มันก็ยังไม่เห็น  อย่าไปเอาเป็นอารมณ์มากนักในเรื่องของอธิษฐาน   ไม่อย่างนั้นเสียเปรียบภาคมาร   ภาคมารคอยสอดละเอียด หลอกเราแวบเดียว  เราพลาดไปเลย

    บางท่านอธิษฐานสร้างบุญบารมี เพียงปกติสาวก   ถ้าโดยนัยนั้นก็เหมือนว่า  เราจะบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในระดับมาตรฐานเบื้องต้น  คือระดับปกติสาวก

    มาตรฐานเบื้องต้นนั้น  เมื่อได้บำเพ็ญบุญกุศลได้เต็มหนึ่งคืบของเจ้าของ  บุญนั้นจะกลั่นตัวเองเป็นบารมี ได้ประมาณเท่าหนึ่งองคุลีมือ

    บำเพ็ญบารมีจนเต็มแก่กล้าได้หนึ่งคืบ   จึงจะกลั่นตัวเองเป็นอุปบารมี   เท่าหนึ่งองคุลีมือ

    แล้วก็บำเพ็ญอุปบารมีจนเต็มหนึ่งคืบ   จึงจะกลั่นตัวเองเป็นปรมัตถบารมี   ประมาณเท่าหนึ่งองคุลีมือ

    และถ้าบำเพ็ญปรมัตถบารมีได้เต็มหนึ่งคืบของตัวครบ หมดทั้ง 10 ประการ (ทานบารมี, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา และอุเบกขาบารมี) ในภพชาติใด   ภพชาตินั้น เมื่อบารมีเต็มก็เป็นอันว่าผู้บำเพ็ญบารมีนั้น  มีพลวปัจจัยให้สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้  หมายความว่า ถึงมรรคผลนิพพานได้

    เพราะฉะนั้นเรื่องบุญบารมี   อย่าเอาไปใช้ในลักษณะพนันหรือท้าทายว่า  ถ้าผมไม่มีบุญบารมี ก็หยุดไว้ก่อน   อย่างนั้นผิด   เพราะอะไร ?   มันผิดตรงที่ว่าเราแน่ใจแล้วหรือว่าเรามีบุญบารมีกี่มากน้อย ?   หากว่าเรามีบุญบารมียังไม่พอ   ก็ยังไม่เห็น (ดวงธรรม)

    แต่เราต้องถามตัวเองก่อนว่า  วิธีที่ให้ปฏิบัติอย่างนี้ผิดหรือถูก ?   เราพิจารณาดูเสียก่อนว่า ปฏิบัติอย่างนี้ผิดหรือถูก   ถ้าถูกแล้ว  แม้ยังไม่เห็นก็ตั้งใจปฏิบัติไป   สั่งสมบุญกุศลคุณความดีเรื่อยไป   หยุดทำไม ?   ถึงเวลาก็ได้เห็นเอง   หยุดไปก็ถูกมารหลอก

    การอธิษฐานนี่ นิดเดียวก็ถูกมารหลอกแล้ว   เห็นไหมล่ะ  ไปอธิษฐานว่า ถ้าไม่เห็นก็แปลว่าไม่มีบุญบารมี  จะหยุดเสียแล้ว   ไปเอาข้อนี้มาเป็นเงื่อนไข

    บุญมีนะ  แต่มันยังน้อยอยู่  หรือว่ามันมีเหตุปัจจัยอื่นๆ อะไรปิดบังอยู่   เราก็ไม่รู้   ไปตีความว่าเราไม่มีบุญเสียแล้ว   จะหยุดปฏิบัติเสียแล้ว   เหมือนกับเราจะขุดน้ำในบ่อ   พอไปเจอรากไม้หน่อย  โอ๊ย ไปไม่ได้แล้ว   ก็จบกัน

    เพราะฉะนั้น เมื่อไปเจอรากไม้ตอไม้หรืออะไร   เราก็พยายามขุดตัดออกอีกหน่อยก็ลงไปได้   แต่ต้องค่อยๆ ทำ   ไม่ใช่ว่าขุดไปต้องให้เจอน้ำนะ   ถ้าไม่เจอน้ำก็แปลว่าไม่มีน้ำ   อย่างนี้ก็เสร็จกัน

    เราถามตัวเองก่อนว่า  วิธีปฏิบัตินี้  ตามที่สอนไปนี้ผิดหรือถูก  ให้คุณหรือให้โทษ   ตรงนี้ต่างหากคือประเด็นที่ควรพิจารณา

    เผอิญท่านอธิษฐานแล้ว ท่านเห็น  นี่เป็นการดี   ท่านมีบุญบารมีอยู่แล้ว  ไม่ต้องไปอธิษฐานอย่างนั้นก็เห็นได้ เกิดหากว่ามารสอดละเอียดให้ท่านไม่เห็นซะนี่   ทั้งๆ ที่ท่านมีบุญ   เผอิญวันนี้มารสอดละเอียดท่านหน่อย  เลยยังไม่เห็น   ไม่เห็นท่านก็หยุดเสียแล้ว   ทั้งๆ ที่มันใกล้จะเห็นอยู่แล้ว

    หรือว่าเหมือนกับขุดน้ำ   มันจวนจะถึงน้ำอยู่แล้ว   อะไรมาคั่นหน่อยเดียว   บอกว่าถ้าไม่เห็น   น้ำผมจะหยุดแล้ว ไปเห็นอุปสรรคอะไรขวางหน่อย ก็คิดว่าผมจะหยุดแล้ว   เสร็จเลย   ทั้งๆ ที่เลยไปอีกหน่อยเดียวก็เห็น

    นี่แหละให้ระวังเรื่องอธิษฐาน   ให้ระวัง !   มีคนเคยเป็นแบบนี้มาแล้ว   อาตมาบอกแล้วก็ไม่ยอมเชื่อเสียด้วย

    เพราะฉะนั้นเรื่องอธิษฐาน   ต้องระวังให้ดี   บางทีกลายเป็นการผูกมัดตัวเอง    ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องอธิษฐาน บางคนว่าฉันต้องรักษาวาจาสัตย์  พูดอะไรออกไปก็ต้องเป็นตามนั้นเสมอไป     ถ้าพูดถูกแล้วเป็นตามนั้นก็สมควร   แต่ถ้าพูดผิดด้วยอารมณ์   บางทีมันมีอารมณ์รัก โกรธ เกลียด ชอบ ชัง หลง กลัว  อะไรๆ ก็แล้วแต่   พอเราพูดว่าต่อไปนี้ฉันจะไม่ยังงั้น  ละฉันจะไม่อย่างงี้ละ   หรือว่าต่อไปนี้ฉันจะทำอย่างนั้น   ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น   ฉันก็จะไม่เป็นอย่างนี้

    บางทีเราหลงเข้าใจผิดแล้ว   เลยอธิษฐานหรือพูดพลาดไปผิดๆ   ถ้าไม่ระวังให้ดี   หรือถ้ารู้ว่าอธิษฐานผิด/พูดผิดแล้วไม่แก้ให้ถูก   ก็เสียผลอย่างใหญ่หลวงได้

    เพราะฉะนั้น  การถือสัจจะหรืออธิษฐานนี่   ให้จำไว้ว่า  เราจงทำในขณะที่เรามีสติสัมปชัญญะดี มีปัญญาแจ้งชัดดีแล้ว   ถ้ายังไม่แจ้งชัดพอก็อย่าเพิ่งอธิษฐาน   อย่าเพิ่งลั่นวาจา   ตรงนี้สำคัญ...

    ถ้าลั่นวาจาแล้ว   ภายหลังเรารู้ว่าไม่ถูก  ไปพูดเข้าไปแล้ว   เลยกลับคำไม่ได้   หรืออย่างเช่น   การอธิษฐานนี่  บางท่านอธิษฐานกินเจ (มังสวิรัติ) ตลอดชีวิต   บางรายก็เป็นโรคขาดสารอาหาร  เลยแห้งเหี่ยว  เพราะร่างกายต้องการสิ่งที่มีประโยชน์มาบำรุงพอสมควร    แต่ไม่ใช่ว่าต้องรับประทานแต่อาหารที่ดีๆ เกินไป  จนเกินเหตุ  เราต้องมี “โภชเนมัตตัญญุตา”  คือ รับประทานแต่พอควร   ถ้าอดอาหารจนร่างกายไม่มีกำลัง   พระพุทธเจ้าทรงถือว่าเป็น “อัตตกิลมถานุโยค”  เป็นการทรมานร่างกายจนเกินเหตุ   ไม่ใช่ทางให้พ้นทุกข์  ไม่ใช่ทางให้เกิดปัญญา   ที่จะแทงตลอดอริยสัจได้   นี่ต้องระวัง  เรื่องนี้สำคัญ

    บางทีไปอธิษฐานว่า  ถ้าไม่เห็นไม่ยอมลุก   บางทีเราตายเปล่านะ   ผู้ที่อธิษฐานอย่างนี้ได้  อย่างหลวงพ่อท่านอธิษฐาน  ข้อนี้ดีจริงนะ   ไม่ใช่ไม่ดี   พระพุทธเจ้าก็อธิษฐาน   แต่นั่นท่านรู้ตัวท่านแล้วว่าบารมี ท่านแค่ไหน   คือปฏิบัติไปจะรู้ตัว   แต่ถ้าท่านผู้ใดรู้ตัวมีบารมีพอ   จึงค่อยอธิษฐาน  เอาเลย !   หรือว่ารู้ว่าสิ่งนี้ถูกต้องแน่   เราจะทำอย่างนี้  หรือจะไม่ทำอย่างนี้   ให้มันแน่นอนลงไปอย่างนั้นได้   แต่ถ้าเป็นไปด้วยอารมณ์   เป็นไปด้วยกิเลส  เหตุนำเหตุหนุนให้พูดหรืออธิษฐาน   ขณะมีความรัก โกรธ เกลียด ชอบ ชัง หลงอยู่ กลัวอยู่ อย่างนี้เป็นต้น   ไปพูดตั้งสัตยาธิษฐานด้วยอาการอย่างนั้นละก็เสร็จเลย   จะกลับคำก็ไม่ได้  กลับคำก็ถือว่าเสียสัจจะ  นี่ไปยึดผิดๆ อย่างนั้น

    แต่ผมน่ะพระคุณเจ้า จะบอกโยมด้วย  อาตมานี่ถ้าว่าจะตั้งใจทำอะไร  ตั้งใจทำให้สำเร็จจริง   แต่ถ้าเห็นมีอุปสรรค มีปัญหา  หรือเห็นว่านี่เรามาผิดทางแล้ว  เห็นว่าควรจะปรับปรุงแก้ไข   ก็แก้ไข  ไม่ใช่ว่าฉันตั้งสัตยาธิษฐานไว้แล้วว่าฉันจะเดินไปทางนี้   บางคนเดินไปแล้วมันจะชนเสา  หัวก็ โขกเสาอยู่นั่น แต่ผมไม่ยอมชนเสาละ  ผมหลีกนะ   แต่ไม่ใช่ถือว่าเสียสัจจะ เพราะวัตถุประสงค์ของผมอยู่ที่ว่าจะไปให้ถึงจุดโน้น   ไม่ใช่ว่าจะต้องเดินไปทางนี้   แม้จะตรงเสาก็ให้ชนเสาเพื่อไปถึงจุดโน้น ก็ย่อมไม่ถึง   เพราะเสาไม่หลีกให้เรา   เราก็ไปถึงจุดโน้นไม่ได้

    เพราะฉะนั้นเมื่อผมมีวัตถุประสงค์จะเดินให้ไปถึงจุดตรงนู้น   แม้เมื่อไปทางนั้นจะชนเสาก็หลีกได้  ขอให้ไปถึงจุดที่ต้องการก็แล้วกัน

    การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ  ให้ถูกต้องตรงตามหลักการ   เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ประสงค์  ไม่ใช่เป็นการเสียสัจจะ  เพราะจุดประสงค์เรามุ่งที่จะถึงจุดตรงนู้น  เข้าใจไหม ?

    เพราะฉะนั้นจะอธิษฐานอะไรต้องให้รอบคอบ    โดยเหตุนี้  อาตมาจึงนำอธิษฐานเป็นคำกลางๆ  แม้แต่การทำบุญกุศลก็จะนำอธิษฐานเพื่อไปมรรคผล นิพพาน   เป็นคำกลางๆ และถูกต้องแน่นอนดี อธิษฐานเพื่อถึงมรรคผลนิพพานฝ่ายสัมมาทิฏฐิ

    ทีนี้มีคนถามเหมือนกันว่า  “มรรคผล นิพพาน ฝ่ายมิจฉาทิฏฐิมีไหม   หลวงพ่อ [พระภาวนาวิสุทธิคุณ] จึงได้กล่าวอธิษฐานอย่างนี้ ?”

    มันมีได้ด้วยความหลงเข้าใจผิด คิดว่าที่ตนเองเคยเรียนรู้มา (ผิดๆ) ว่  านั่นเป็นมรรคผลนิพพานจริงๆ แต่นั่นเป็นมิจฉาทิฏฐิ   อย่างนี้ก็มี

    เพราะฉะนั้นนี่แหละที่อาตมาบอกว่า นิพพานมิจฉาทิฏฐิของคนที่สอนสืบต่อๆ กันมาก็มีอยู่

    อาจมีคนค้านว่านิพพาน  ต้องของจริงอย่างเดียวสิ   บางครั้ง   คนเกิดมาในยุคในสมัย หรือในครอบครัวหรือในสังคมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ   พูดเรื่องนิพพาน   เราก็เห็นดีด้วย   เราก็เลยตามดุ่ยเลย  อย่าลืมว่ามิใช่ว่าสัตวโลกทุกผู้ทุกนาม ทุกชาติ ทุกศาสนา จะรู้เรื่องนิพพานแจ่มแจ้งดีแล้ว   แท้ที่จริง  ผู้รู้จริงก็มีแต่พระพุทธเจ้า  พระอรหันตเจ้า และพระอริยเจ้า ในพระธรรมวินัยนี้  คือในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น

    แต่สัตวโลกทั้งหลายมีความต้องการตามคุณสมบัติพระนิพพานที่จริงแท้ๆ  นั่นแหละคือ ไม่อยากมีทุกข์ ไม่อยากแก่-เจ็บ-ตาย   อยากจะมีแต่ความสุขอันถาวรนิตย์นิรันดร์

    มีใครอยากจะตายมั่ง   มีมั้ย ?   อยากจะเที่ยงกันทุกคน  ใครอยากได้รับความทุกข์บ้าง มีไหม ?   ก็ต้องการความสุขด้วยกันทุกคน

    ต้องการความเที่ยงเป็นสุข   และต้องการยั่งยืน คือไม่รู้จักตาย ไม่ว่าสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ว่ามนุษย์ ไม่ว่าเทวดา พรหม อรูปพรหม   ล้วนต้องการคุณลักษณะของพระนิพพานแท้ๆ อย่างนี้ทั้งนั้น   แต่ว่าไม่รู้จักพระนิพพานของจริงในพระพุทธศาสนา   ทีนี้ ก็แล้วแต่ใครจะพูดจะแนะนำสั่งสอนอะไรไปผิดๆ ถูกๆ   นี่แหละ “นิพพานมิจฉาทิฏฐิ”   คือไม่รู้จัก พระนิพพาน ที่แท้จริง

    ที่อาตมาให้อธิษฐานแต่ละคำนั้น มีความหมายทั้งหมด   ไม่ใช่ว่าพอดีพอร้าย   ไม่ใช่ธรรมดา   ไม่ใช่สักแต่พูด  อาตมาจึงให้เน้นตรงนั้นตรงนี้   อย่างนั้นอย่างนี้   โปรดเข้าใจนะ

    สรุปว่า  ถ้ามั่นใจว่าเรามีบุญบารมีพอ ก็อธิษฐานเช่นนั้นได้   แบบพระพุทธเจ้า     แต่ถ้าไม่มั่นใจก็ไม่ต้องอธิษฐานอย่างนั้นหรอกครับ   อธิษฐานอย่างที่หลวงพ่อท่านสอนให้อธิษฐานนั่นแหละ  นี้แหละมันปลอดภัยที่สุด   อธิษฐานตามนั้นแหละว่า

    “ขอบารมีทั้งหลายเหล่านั้น จงมาบังเกิดในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร”

    คืออย่างไร ?   ก็คือมาเป็นตัวเรานั่นแหละ   พูดกันง่ายๆ ขอบุญบารมีทั้งหลายเหล่านั้นมาเป็นตัวเรา บุญบารมีที่บริสุทธิ์ผ่องใส  จะมาเป็นตัวเรา   คือกายเนื้อนี้ได้อย่างไร   เป็นไม่ได้   มาเป็นธรรมกายละก็ได้ เข้าใจไหม ?

    คำอธิษฐานของหลวงพ่อเป็นอย่างนี้   ทีนี้อาตมาก็เลยคิดว่า  อาจจะมีโยมที่อาจจะไม่ค่อยรู้ความหมาย  อาจจะมีพระไม่ค่อยรู้  เณรไม่ค่อยรู้   ก็เลยบอกให้ละเอียดลงไปหน่อยว่า  “จงมาช่วยประคับประคองใจให้หยุดให้นิ่ง”   เพราะถ้าใจไม่หยุดไม่นิ่งๆ  ก็ไม่ถึงพระ ใจต้องหยุดต้องนิ่งจึงถึงพระ คือ ต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์ก่อน

    วิธีการปฏิบัติภาวนาให้ใจสงบ ให้หยุดให้นิ่งอย่างนี้   ผิดหรือถูกล่ะ  เมื่อรู้ว่าถูกแล้วก็ไม่ต้องไปคิดมาก เดินหน้าอย่างเดียว   ลุยอย่างเดียว  ลุยไปจนตาย   แล้วก็ได้เห็นเองเป็นเองเท่านั้นแหละ

    เราพิจารณาดูว่าทางปฏิบัตินั้นถูกมั้ย   ถ้าถูกแล้วก็ทำไปเลย   แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นว่าทางนี้ไม่ถูก ถ้าไม่ถูกก็เปลี่ยนหรือปรับปรุงให้มันถูก  ก็เท่านี้แหละ

    อาตมาใช้อย่างนี้   เพราะฉะนั้นหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านจึงสอนว่า “ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก  ประกอบในเหตุ สังเกตในผล ทนเอาเถิด ประเสริฐดีนัก” ก็คือว่าปฏิบัติไปก็พิจารณาดูเหตุ ดูผลไป  คอยประคับประคองใจของเราให้ถูกทางว่า  ทำแล้วได้ผลไหม  อย่างนี้ๆๆ   ถ้าไม่ได้ผล   เป็นเพราะเราไม่ถูกต้องตรงไหน   เราก็ปรับตรงนั้นซะ

    จุดหมายปลายทาง ก็ต้องการให้ใจหยุด  จะให้ใจหยุดตรงไหน ?    ก็ให้หยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม   หยุดตรง นั้นแล้วได้อะไร ?   หยุดแล้วถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย

    ถ้ามีคนถามว่านั่นนิมิตนี่   บอกเขาไปว่า คุณรู้จริงหรือเปล่าว่า นิมิตเป็นอย่างไร ?

    ถ้าเขาว่า นั่นปฏิภาคนิมิตยังไงล่ะ  เห็นเป็นดวงใสเหมือนกัน   ก็บอกเขาไปว่า “ใช่”

    แต่นี่เมื่อเห็นดวงใสตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น   “ใจ” คือ เห็น จำ คิด รู้ (ที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม  เมื่อใจหยุดตรงนั้นถูกส่วนเข้า   ศูนย์กลางนั้นก็ขยายว่างออกไป เราจะสังเกตเห็นหรือไม่เห็นก็แล้วแต่   แต่ศูนย์กลางตรงนั้นขยายว่างออกไป  ขยายออกแล้ว  แวบเดียวที่เรารู้สึกหวิวนิดหนึ่งนั่นแหละ   ก่อนที่เราจะเห็นดวงใสดวงใหม่   พอขยายออก  จิตดวงเดิมตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 จิตดวงเดิมนั่นละปฏิภาคนิมิต นั่นไปแล้ว    แล้วก็ปรุงเป็นจิตดวงใหม่  ตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใหม่  ลอยเด่นขึ้นมาใสแจ่ม ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อีก  ที่เห็นใสแจ่มลอยเด่นมานี้ ไม่ใช่ปฏิภาคนิมิตดวงใหม่แล้ว แต่เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายดวงใหม่  มีใจตั้งอยู่ตรงกลางนั้น ใสแจ่มขึ้นมา  และมีความแตกต่างจากดวงใส  ที่เป็นปฏิภาคนิมิตดวงเดิม

    กล่าวคือ ดวงใสดวงใหม่ จะปรากฏธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 (คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม 4 อย่าง) ไม่ใช่เห็นดวงเฉยๆ  แต่ยังมีธาตุละเอียดข้างในอีกคือ  ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม  ตรงกลางเป็นอากาศธาตุ (เป็นที่ 5) ตรง กลางอากาศธาตุมี “วิญญาณธาตุ” ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของนามขันธ์ 4 (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หลวงพ่อถึงบอกว่า “ถ้าธาตุทั้ง 6 ไม่ประชุมกัน ปฐมมรรคก็ไม่เกิด”

    เพราะฉะนั้น  ที่เราเห็นคือ “ดวงปฐมมรรค” หนทางเบื้องต้นไปสู่มรรคผลนิพพาน หรือ “ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย” หรือ “ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน”  เพราะเราสามารถจะเข้าถึงและรู้เห็นกายในกาย  เวท นาในเวทนา  จิตในจิต  และธรรมในธรรม จากสุดหยาบไปสุดละเอียดได้ตรงนั้นเอง   จึงชื่อว่าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

     เพราะฉะนั้น  คำพูดของหลวงพ่อ  ธรรมะของหลวงพ่อลึกซึ้งอย่างนี้

    เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว  ก็พิจารณาดูซิว่าวิธีของท่านผิดหรือถูกล่ะ ?   เราพิจารณาเห็นกายในกาย  เวทนาในเวทนา จิตในจิต  และก็เห็นธรรมในธรรม  คือว่าเมื่อใจหยุดนิ่ง  จิตไม่สังขาร (ไม่ปรุงแต่ง) ก็เป็นกุศลธรรม  เป็นบุญผ่องใส และค่อยๆ แก่กล้าไป  จนกระทั่งถึงเป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี  ละเอียดเข้าไปสุดละเอียด  จาก “มนุษยธรรม” ถึง “เทวธรรม” “พรหมธรรม” และถึง “พุทธธรรม” คือ ธรรมกาย ณ ที่สุดละเอียดของธรรมกาย ก็ คือ อายตนะนิพพาน  ได้รู้เห็นไปตลอดอย่างนี้   เป็นขั้นเป็นตอนอย่างนี้  ผิดหรือถูกล่ะ   เมื่อเราได้พิจารณาโดยแยบคายรู้ว่าถูกทางแล้ว ก็จงเพียรปฏิบัติไป   เดินหน้าลูกเดียว   แต่ถ้าเราพิจารณาเห็นว่า  ทางไม่ถูกหรอก   เอ้า! ไม่ถูกก็ไม่ถูก  ไม่ว่ากัน

    เพราะฉะนั้น  ข้อนี้ไม่ต้องอธิษฐานอย่างนั้น   แต่ถ้ามั่นใจว่า บุญบารมีของเรามีพอ  เอาละ !  อธิษฐานได้  แบบพระพุทธเจ้า   หลวงพ่อท่านก็อธิษฐานนะ   อธิษฐานอย่างที่พระสมุห์ท่านว่าเมื่อกี้นี้   ก็แสดงว่าท่าน (พระสมุห์ เขียน) มีบุญ  ท่านถึงได้เห็นได้  เห็นเพียงแวบหนึ่งนี่   หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านว่าเห็นเพียงแวบหนึ่ง ก็ใจหยุดเพียงแวบหนึ่ง  “เท่าช้างกระดิกหู”  ช้างกระดิกหูเป็นอย่างไร ?   เพียงกระพริบตาเดียวเท่านั้นแหละ  หรือว่า  “เท่างูแลบลิ้น”  แวบเดียวเท่านั้น   นั่นบุญใหญ่กุศลใหญ่ยิ่งกว่าการสร้างโบสถ์วิหารการเปรียญเสียอีก   เพราะเป็นทางมรรคผลนิพพาน  คือได้สัมผัสได้ลิ้มรส   ได้รู้ว่า “นิพพาน” บริสุทธิ์ผ่องใส คือ ใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส  ได้สัมผัสธรรมที่ละเอียดสุขุมลุ่มลึก  อย่างนี้ทางนี้แหละเป็นมัชฌิมาปฏิปทา  เป็นทางสายกลาง  โดยทางปฏิบัติไม่ใช่ปริยัติ   ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ  ก็อยู่ที่นี่  อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้   อริยมรรคมีองค์ 8 ก็อยู่ที่นี่   ไม่ได้อยู่ที่ไหน   ไม่ได้อยู่ที่ห้องสมุด  ไม่ได้อยู่ที่คัมภีร์  แต่อยู่ตรงที่ใจหยุด  ใจนิ่ง ตรงกลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายหรือปฐมมรรคนี้

    เพราะฉะนั้น   พระพุทธรูป พระประธานบนศาลาอเนกประสงค์นี้   นี่เป็นพระปางปฐมเทศนา  ซึ่งมีปริศนาธรรมอยู่  เห็นไหมล่ะ  ?    นิ้วชี้ซ้ายนี่ชี้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7   นี้บอกตำแหน่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย  เป็นปางปฐมเทศนา  ที่พระพุทธเจ้ากำลังโปรดปัญจวัคคีย์  ที่ทรงอุทานว่า “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ - โกญฑัญญะเห็นแล้วหนอ”  ที่เราสวดธรรมจักกัปปวัตตนสูตร

    เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย   ซึ่งมีอาการเกิดดับๆ   หลวงพี่สมุห์ท่านก็เห็นนะ   ลองพิจารณาตามที่ผมได้เล่าให้ฟังนี้ดูก็แล้วกันนะครับ

    คำถามที่ท่านถามมานี้ก็พิจารณาเอาเองก็แล้วกันว่า สมควรจะปฏิบัติ (อธิษฐาน) อย่าง ไร  ผมคงจะไม่ต้องไปชี้ว่าต้องทำอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนี้   แต่ขอให้พิจารณาเอาเองว่า  เมื่อใดสมควรจะปฏิบัติ คือจะอธิษฐานอย่างไร ?   จึงจะเหมาะสมแก่บุญบารมีของตนๆ  ก็ดำเนินไปตามนั้น.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...