ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ! การเป็นผู้นำที่ดี ทำอย่างนี้

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย physigmund_foid, 23 กันยายน 2007.

  1. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    "จักรพรรดิธรรม ๔" ธรรมสำหรับผู้นำเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
    โลกในยุคปัจจุบัน เป็นยุคแห่ง “ผู้นำ” กล่าวคือ อำนาจการปกครองได้กระจายไปสู่ชนชั้นกลางและชั้นล่างมากขึ้น จากในสมัยก่อนที่มักเป็นการปกครองแบบเด็ดขาดอยู่เพียงไม่กี่คน ทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง การทำงานเชื่องช้าเพราะรอการตัดสินใจจากคนที่มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อหน่วยสังคมที่มีมาก ปัจจุบันการกระจายอำนาจมีทุกระดับ และทำให้เกิด “หัวหน้า” ระดับต่างๆ ในองค์กรต่างๆ ขึ้นมามากมาย แท้แล้วจิตเดิมแท้ของคนมีความแตกต่างกันอยู่ก่อน “ธาตุธรรม” หรือ “ธาตุแท้” ในจิตตนนั้นมีสามประเภท คือ ปัจเจกภูมิ คือ คนที่รักอิสระไม่ยอมเป็นลูกน้องใครและเป็นนายใครไม่ได้ แต่มีความสามารถเอาตัวเองรอดได้ด้วยตัวคนเดียว, พุทธภูมิ คือ คนที่ปกติยังประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ มีความเป็นผู้นำ ไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว, สาวกภูมิ คือ คนที่ปกติต้องพึ่งพาอาศัยบุคคลอื่นอยู่ก่อน ตนเองจึงจะรอดได้ มีความเห็นแก่ตัว แต่ก็ยินดีทำตามหัวหน้าของตน มีการยอมก้มหัวเป็นลูกน้องผู้อื่นได้ คนเราจะมีธาตุธรรม สามอย่างนี้ผสมกันในสัดส่วนที่แตกต่างกัน จวบจนถึงชาติสุดท้ายจะมีความชัดเจนเพียงธาตุธรรมเดียว ก่อนการนิพพานในชาติสุดท้ายนั้น จะนิพพานแบบ ปัจเจกภูมิ, พุทธภูมิ, หรือสาวกภูมิ เท่านั้นเอง ทั้งนี้ โลกยุคปัจจุบันแตกต่างในสมัยพุทธกาล เพราะเปิดโอกาสให้คนเป็นพุทธภูมิกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่ยังมีความเป็นสาวกภูมิแต่กลับได้รับตำแหน่งผู้นำ บทความฉบับนี้จึงเขียนขึ้นเพื่อเป็น “ธรรมสำหรับผู้นำ” หรือผู้มีตำแหน่งทั้งหลายในสังคม เพื่อให้พัฒนาตนเองเป็นผู้นำที่แท้จริง เป็นเบื้องต้นก่อนเข้าสู่พุทธภูมิ ซึ่งการบำเพ็ญทศบารมีเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก จึงให้ธรรมสำหรับผู้นำเป็นเบื้องต้น ที่เรียกว่า “จักรพรรดิธรรม ๔” ได้แก่ จริยธรรม, ยุติธรรม, อธิโมก, และจาคะ ดังนี้
     
  2. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๑. “จริยธรรม” คือ การสอนลูกน้องด้วยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีงาม

    <O:p</O:pคือ การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีจริยาวัตรที่ควรแก่การทำตาม ทำตนเป็นเยี่ยงอย่างให้แก่ลูกน้องที่จะเดินตามรอยตน อย่าเอาแต่สอน อย่าพูดแต่ปาก แต่ทำไม่ได้ หรือตนเองปฏิบัติไม่ได้ ทุกสิ่งที่พูดแก่ลูกน้อง ต้องพิจารณาแล้วว่าตนเองทำได้แน่ และทำเป็นแบบอย่างมานานแล้ว ลูกน้องไม่ได้สังเกต ไม่ได้พิจารณา เราจึงได้บอกให้เขาสังเกตแนวทางของเราเท่านั้น อย่าเอามาตรฐานความดีงามที่เป็นอุดมคติที่เพียบพร้อมมาวัดลูกน้อง มาบังคับให้ลูกน้องกระทำ แล้วตนเองไม่อาจกระทำได้ตามนั้น จริยาวัตรนี้เอง ทำให้เกิดความศรัทธาของลูกน้องอย่างจริงใจ ไม่ได้เสแสร้ง และไม่ใช่เราเพราะเงินเดือน, ตำแหน่ง, อำนาจทางศิลปะการพูดแต่อย่างใด ผู้นำจะมีบารมีสามารถปกครองผู้อื่นได้ มิใช่เพราะใช้เงินฟาดหัว, ใช้อำนาจของตนกดขี่ข่มเหงให้เกรงกลัว, หรือใช้การพูดจาฉอเลาะด้วยเล่ห์ก็หาไม่ จำต้องเกิดจากการปฏิบัติของตนเองให้ประจักษ์แก่สายตาผู้ตามทั้งหลาย คือ มี จริยธรรม นั่นเอง ในทางจิตวิทยาการเรียนรู้และประพฤติตนในสังคม จะทำตามตัวแบบของสังคมที่เรียกว่า “Social modeling” เช่น ในบริษัท ลูกน้องก็มักทำตามการกระทำ หรือปรับตัวตามการกระทำของหัวหน้า แต่ไม่ได้สนใจสิ่งที่หัวหน้าสอนหรือพูดทางวาจานัก การเลียนแบบ และพฤติกรรมการเลียนแบบ เกิดจากการสังเกตตัวแบบ คือ เห็นการกระทำของหัวหน้าก่อนเสมอ ไม่ได้เกิดจากการพูดสั่งสอนแต่อย่างใด ดังนั้น หากเป็นครู จำต้องพูดเพื่อสั่งสอน แต่หากมีสติรู้ตัวว่าไม่ใช่ครู อยู่ในฐานะหัวหน้า จำต้องสอนทางปากแต่น้อย และสอนด้วยการปฏิบัติด้วยตนเองให้มาก หากจะพูดอะไร ก็พูดเพ่อสั่งงาน, บอกเคล็ดลับการทำงานให้ลูกน้อง, หรือให้ทางแก้ปัญหาแก่ลูกน้อง อำนวยความสะดวกให้ลูกน้อง นี่คือ หน้าที่ของผู้เป็นหัวหน้า เพราะบริษัทไม่ได้จ้างหัวหน้างานมาเพื่อแสดงอำนาจ หรือมาเป็นครู เขาต้องการผู้แก้ปัญหาให้ทีมงาน, ต้องการผู้นับผิดชอบ, ต้องการผู้นำที่แท้จริง ซึ่งเราต้องไม่หลงว่า ลูกน้องของเราอายุมากแล้วไม่ใช่เด็ก ไม่ใช่ลูกของเรา ขนาดอาจารย์ในมหาวิทยาลัยยังสอนเด็กได้ แล้วเราเป็นหัวหน้าจะสั่งสอนลูกน้องด้วยการพูดได้อย่างไร จำต้องปฏิบัติตัวเราให้เป็นแบบอย่างที่ดีก่อน จึงจะเกิดมาตรฐานการทำงานจากหัวหน้านี่เอง วัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมในการทำงาน จึงเกิดจากการทำงานของหัวหน้า นั่นเอง เป็น “จริยธรรม” ที่หัวหน้าต้องถ่ายทอดให้ลูกน้อง ไม่ใช่การบอกปากเปล่า

    <O:p</O:pปัจจุบัน ผู้นำในองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เรียกได้ว่ามี “จริยธรรม” จริงๆ มีไม่ถึง ๑๐%<O:p</O:p
     
  3. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๒. “ยุติธรรม” คือ การคิดและกระทำต่อลูกน้องทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

    <O:p</O:pคือ จิตที่มองมวลชน, มหาชน, หรือบริวารทั้งมวลของตนอย่างเท่าเทียมกัน ปฏิบัติด้วยบรรทัดฐาน, มาตรฐานเดียวกัน ไม่เลือกที่รัก, มักที่ชัง ไม่มีอคติเฉพาะบุคคล การจะเป็นผู้นำผู้อื่นได้นั้น หากยังมีความรักและความชัง จะปกครองผู้อื่นไมได้ เพราะจะถูกคนที่หลงรักครอบงำตน และคนที่ตนเกลียดบั่นทอนกำลังใจในการปกครอง ดังนั้น ผู้นำ จำต้องตัดทิ้งเสียซึ่ง “ความรักและความชัง” เห็นบริวารทั้งมวลเท่าเทียมกัน ไม่ได้รักบริวาร, ไม่ได้เกลียดบริวาร แต่ตัดสินใจทำสิ่งที่ควรทำเพื่อบริวารทั้งมวล แม้จะมีบริวารคนใดก่อความเดือดร้อนอย่างหนัก ก็ต้องไม่มีอคติต่อบริวารผู้นั้น การเป็นผู้ตาม ย่อมมีการบาดหมางกับผู้ตามด้วยกันได้ แต่ผู้นำจะบาดหมางและมีอคติส่วนตัวกับผู้ตามไม่ได้ จะทำให้เสียการปกครอง เช่น พระเทวทัต ที่ทำร้ายพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าก็ทรงไม่มีอคติกับพระเทวทัต ยังทรงมองพระเทวทัตเหมือนพระสาวกทั่วไป ปฏิบัติกับพระเทวทัตเท่าเทียมกับปฏิบัติต่อพระสาวกรูปอื่น ปัจจุบัน การบริการงานในบริษัทเอกชนทั้งหลาย ล้วนแต่ขาดความ “ยุติธรรม” เพราะมีความเลือกที่รัก มักที่ชัง มาก ผู้มีตำแหน่งบางท่าน ชอบลูกน้องบางคนเป็นพิเศษ ในขณะที่มองลูกน้องบางคนว่าเป็นเหมือนฝ่ายตรงข้ามที่ต้องกำจัด ทั้งที่เป็นลูกน้องของตนแท้ๆ บางท่านก็มีอคติกับลูกน้องบางคนของตน ไม่อาจวางคลายอคตินั้นได้ พูดดีทำดีแต่ภายนอก แต่ในใจลึกๆ เมื่อเห็นลูกน้องผู้นี้คราใด ก็มักปฏิบัติแตกต่างจากการปฏิบัติต่อลูกน้องคนอื่น มาตรฐานในการปฏิบัติต่อลูกน้องจึงไม่มี ทำให้ลูกน้องบางคนลาออกจากงาน วงจรการเปลี่ยนงานจึงเริ่มต้นขึ้น ผู้มีตำแหน่งคนนั้นต้องรับกรรม ด้วยการต้องทำงานสอนลูกน้องคนใหม่, ต้องเสี่ยงกับคนใหม่ว่าจะดีหรือเลวอย่างไร, ต้องทำให้บริษัทจ่ายเงินเดือนสูงขึ้น เมื่อทุกๆ บริษัททำเช่นนี้ ย่อมต้องให้เงินเดือนสูงขึ้นกว่าเงินเดือนเก่าที่คนใหม่ได้รับ เพียงเพื่อรีบรับคนใหม่เข้ามา ทำงานแทนคนที่ลาออกไป เพราะงานล้นมือ

    <O:p</O:pปัจจุบัน ผู้นำในองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เรียกได้ว่ามีความ “ยุติธรรม” จริง มีไม่ถึง ๑๐% <O:p</O:p
     
  4. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๓. “อธิโมก” คือ น้ำใจที่กล้าหาญเด็ดเดี่ยว เหมาะสมในการเป็นผู้นำ

    คือ จิตที่เด็ดเดี่ยวกล้าตัดสินใจ, กล้ายอมรับผิดในสิ่งที่ตนกระทำ, กล้าต่อสู้กับสิ่งที่ผิดในองค์กร, กล้าเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เพื่อรักษาไว้ซึ่งการอยู่รอดขององค์กร แม้ว่าจะมีผู้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่เพื่อรักษาองค์กรก็กล้าที่จะตัดสินใจกระทำ บุคคลที่ไม่กล้าตัดสินใจ ย่อมไม่ควรได้ตำแหน่งบริหารในทุกระดับ เพราะหน้าที่ของผู้บริหารคือต้องทำการตัดสินใจด้วยตนเองในงานที่ตนทำ แล้วสั่งงานให้ลูกน้องทำตามสิ่งที่ตนตัดสินใจนั้น ไม่ใช่รอให้หัวหน้าระดับสูงสั่งงานลงมาก่อน ตนยังไม่ตัดสินใจ แสดงว่าไม่ได้ทำหน้าที่ผู้นำเลย บุคคลจึงต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง มีความดีงามในตัวเอง มีความคิดเป็นของตนเอง มีการริเริ่มด้วยตัวเอง หากยังไม่มีความเป็นตัวของตัวเองแล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นได้เพียง “สาวกภูมิ” ไม่อาจจะสามารถเป็นผู้นำได้ เพราะขาดความเป็น “พุทธภูมิ” ทั้งนี้ หลัก “อธิโมก” นี้ มีอยู่ในปัจเจกภูมิด้วย เพียงแต่ปัจเจกภูมิ ไม่มี “จาคะ” คือ การเสียสละเพื่อคนส่วนใหญ่ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าที่เก่งตัวคนเดียว แต่ไม่ได้สร้างศาสนาเพื่อมหาชนเท่านั้นเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อนึ่งพึงระวัง “มาร” ที่มีความเป็น “ปัจเจกภูมิ” อยู่ก่อน แต่หลงคิดว่าตนเป็นพุทธภูมิ โดยไม่บำเพ็ญจาคะ ทำให้ใช้ความเก่งกล้าสามารถเฉพาะตนครอบงำให้คนหลงใหลในตน บูชาตน เป็นเจ้าลัทธิ ที่หลอกเอาคนโง่กว่าตน มาบูชาตน คนเหล่านี้เป็นผู้นำคนได้จริงด้วยอำนาจนั้น แต่ไม่อาจนำพาคนไปสู่ทางออกที่ดีงามได้ รังแต่จะนำพาบริวารลงนรกไปด้วยกัน และเมื่อลงนรกแล้วหากสำนึกความผิดบาป คิดเกิดใหม่ชดใช้กรรมที่ทำไป และยังไม่ละความตั้งใจที่จะนำทางผู้อื่นให้รอดพ้นได้เช่นตน ก็จะเข้าสู่ “พุทธภูมิ” ได้เต็มตัว นอกจากนี้ คนที่มีอธิโมก จะพ้นเสียได้จากสาวกภูมิ เป็นปัจเจกภูมิ หรือพัฒนาขึ้นเป็นพุทธภูมิได้นั้น เมื่อตัดสินใจไปแล้ว จะต้องกล้ายอมรับความผิดที่ตนได้ตัดสินใจไป ไม่สามารถโยนความผิดให้ลูกน้องได้ เพราะลูกน้องอยู่ในอำนาจการบังคับบัญชาของเรา และทำตามคำสั่งเรา และต้องได้รับการสอนสั่งจากเรา แม้ลูกน้องสับเพร่า ก็เพราะเราไม่ดูแล ไม่สั่งสอน ดังนี้ ลูกน้องจะมีความผิดได้อย่างไร ในเมื่อทำงานภายใต้การบริหารของหัวหน้า หัวหน้าจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบความผิดทั้งหมดของลูกน้องทั้งหมดของตนแต่เพียงผู้เดียว เป็นการรับผิดชอบต่อหัวหน้าระดับสูงของตนอีกทอดหนึ่ง จากนั้น หากสืบสวนพบความผิดของลูกน้องจริง จึงใช้อำนาจของตนจัดการลงโทษลูกน้องของตนภายในแผนกของตนภายหลัง ไม่นำลูกน้องมาเป็นแพะรับบาป ไม่โยนความรับผิดชอบให้ลูกน้อง เพราะเป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าแท้ๆ ไม่นำลูกน้องไปบูชายัญใคร บุคคลจะมีความเป็นผู้นำและเหมาะสมกับตำแหน่งบริหารในบริษัทได้ จำต้องมี “อธิโมก” คือ ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวตัวนี้ หากขาดซึ่งความกล้าหาญแล้ว เขาจะเป็นผู้นำได้อย่างไร ก็เป็นได้แค่ผู้ตามที่ทำตัวดีมาก ประจบเก่ง เอาใจเก่ง น่าไว้ใจมาก แต่ไม่สมควรเลยที่จะให้ผู้ตามแบบนี้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้นำในอนาคตเพราะความพึงพอใจกันเป็นการส่วนตัวของเราเอง ปัจจุบัน การเลื่อนตำแหน่งของคนในองค์กร ไม่ได้คัดเลือกผู้ที่มีความแปลกกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เพราะคนทั้งหลายกลัวคนแบบนี้จะส่งผลไม่ดีต่อองค์กร พวกเขาเป็นพวกอนุรักษ์นิยมที่กลัวการเปลี่ยนแปลง จึงมักเลือกคนที่ “หัวอ่อน” ว่าง่าย เชื่อง่าย ทำอะไรอยู่ในโอวาท ไม่มีผิดพลาด และไม่กล้าผิดพลาด เลื่อนตำแหน่งขึ้นตามตนมา ซึ่งเป็นการเลือกผู้ตามมาทำหน้าที่ผู้นำ ผิดหลักการปกครองและบริหารโดยแท้ บริษัทเอกชนจึงไม่อาจแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของตนได้อย่างเช่นในปัจจุบันนี้ อาศัยเพียงการรอให้ภาพรวมดีขึ้นเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ปัจจุบัน ผู้นำในองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เรียกได้ว่ามี “อธิโมก” จริงๆ มีไม่ถึง ๕% <O:p</O:p
     
  5. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๔. “จาคะ” คือ เสียสละประโยชน์สุขส่วนตน เพื่อยังประโยชน์สุขแก่มหาชน

    คือ ความเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อยังประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น มิใช่ การสนองกิเลสและความโง่เขลาของผู้อื่น เพื่อตนจะได้ลาภสักการบูชา แบบนั้น จัดเป็นเจ้าลัทธิ มีมิจฉาทิฐิ ไม่ใช่ “พุทธภูมิ” ไม่ใช่ “ผู้นำที่ดี” การที่บุคคลจะพ้นเสียได้จากสาวกภูมิ จำต้องพ้นด้วย “อธิโมก” คือ จิตใจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญส่วนตน ไม่อ่อนแอคล้อยตามใคร ทำให้เข้าสู่ปัจเจกภูมิก่อน จากนั้น หากนำพาบริวารไปทางที่ผิดเพราะกิเลสครอบงำ ก็จะทำให้ต้องรับกรรมในนรก เมื่อไม่ทิ้งอุดมการณ์และสำนึกผิดได้ ก็จะทำ “จาคะ” คือ การยอมเสียสละส่วนตนเพื่อชดใช้ความผิดที่นำพาบริวารลงต่ำ นั่นเอง จะทำให้บุคคลพัฒนาจิตของตน เข้าสู่ “พุทธภูมิ” ได้อย่างแท้จริง อนึ่ง บุคคลหนึ่งๆ นั้นมีธาตุธรรมสามประเภทในตนอยู่ทั้งสิ้น มีทั้งความเป็นปัจเจก, สาวก และพุทธะ อยู่ในตัว การฝึกฝนจิตที่ถูกต้องจะเร่งธาตุธรรมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้เจริญงอกงามขึ้นมาได้ ซึ่งการจะเป็นหัวหน้าคนได้ดีนั้น จำต้องมีธาตุธรรมฝ่าย “พุทธภูมิ” ที่กล้าแกร่งเพียงพอ เพื่อต้านทานกับธาตุธรรมฝ่าย “ปัจเจกภูมิ” ที่ยังมีความเห็นแก่ตัวหลงเหลืออยู่ในใจ จนขับธาตุธรรมปัจเจกภูมิออกได้หมด ด้วยจาคะแล้ว จึงจะเข้าสู่วิถีแห่งโพธิสัตว์ที่แท้จริง เป็นพุทธภูมิโดยแท้ พ้นเสียได้จากทางมาร
    <O:p</O:p
    จาคะ นี้มีได้หลายระดับ เช่น การยอมเสียสละอาหารที่กำลังจะกินให้ผู้ที่หิวโหยกว่าตนกิน ก็เป็นจาคะระดับต้น ยังไม่จัดเป็นจาคะสมบูรณ์แบบ แต่ก็เรียกว่าเกิดจิตจาคะขึ้นแล้ว คือ จิตที่คิด “เสียสละ” นั่นเอง คำว่าเสียสละนี้ ไม่เหมือนการให้ทาน การทำทานนั้น อาจทำเพราะตนมีเหลือเฟือมีมากแล้ว จึงให้โดยตนเองไม่เดือดร้อน แต่สำหรับการทำจาคะแล้ว ตนเองจะต้องเดือดร้อน แต่เห็นผู้อื่นที่เดือดร้อนกว่าตน ก็สามารถเสียสละให้ผู้อื่นได้ก่อนตน จึงเรียกว่า “จาคะ” โดยเริ่มจากการทำจาคะระดับอ่อนๆ คือ การเสียสละทรัพย์ที่ตนจำเป็นต้องใช้ให้ผู้อื่นที่จำเป็นและลำบากมากกว่า ตนเองจะได้รับผลกระทบ ได้รับผลเสียจากการทำทานหรือการบริจาคนั้นๆ แน่นอน นี่เรียกว่า “จาคะ” คือ ความเสียสละ ไม่ใช่ “ทาน” ธรรมดา มีอานิสงค์สูงกว่ามาก ได้ทั้งผลบุญและบารมี จาคะระดับกลางคือการยอมเสียสละโดยไม่เหลือแม้ทรัพย์สมบัติของตน เช่น การสละราชสมบัติเพื่ออกผนวช เป็นต้น ส่วนจาคะระดับสูงคือการยอมเสียสละได้แม้เลือดเนื้อหรือชีวิตเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น เช่น ทหารหรือตำรวจที่ทำเพื่อมวลชน ไม่ยอมก้มหัวให้เงินแม้ตนจะต้องถูกฆ่าตาย เป็นต้น ดังนั้น อย่าคิดว่า “จาคะ” นั้นทำยาก จึงได้ละเลยการทำจาคะเสีย ต้องค่อยๆ เริ่มฝึกจาคะอย่างอ่อนๆ ก่อน ตนเองเสียประโยชน์ตนเองเดือดร้อน แต่เพื่อผู้อื่นแล้ว ตนก็ยอมเสียสละให้ตนเองเดือดร้อนแทนได้ เพื่อให้ผู้อื่นได้สุขแทนตน นี่คือ “จาคะ” หากเริ่มบำเพ็ญจาคะ เช่น การถือศีลอด แล้วมีเงินเหลือเก็บก็นำเงินนั้นไปบริจาค “ซะกาต” ก็จะทำให้บุคคลนั้นมี “โพธิจิต” ขึ้นอย่างอ่อนๆ นี่คือ สิ่งที่พระศาสดานบีมูฮัมหมัดสอนไว้ในชาวอิสลาม การที่ตนเองยอมอดทน ยอมเสียสละเพื่อให้คนอื่นได้กิน อดเพื่อได้ให้ทานแก่ผู้อื่นนั้นเอง จะช่วยส่งผลให้ปรับธาตุธรรม จากปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี เข้ามาสู่พุทธภูมิได้ในที่สุด บุคคลเมื่อมี “จาคะ” เกิดขึ้นแล้ว ได้กระทำจาคะอย่างต่อเนื่อง เช่น บริจาค “ซะกาต” ทุกเดือน จะยิ่งทำให้จิตที่เปี่ยมจาคะนั้นเหนี่ยวแน่นมั่นคง เมื่อทำจนเป็นปกติ เห็นการเกิดดับไปของทุกข์เมื่อเสียสละแล้วจนเคยชิน จนเป็นปกติดีแล้ว ย่อมไม่รู้สึกว่าการเสียสละนำทุกข์มาให้ตน ประกอบกับสุขนั้นเกิดดับเอง สลับกับทุกข์ ย่อมต้องมีคราวที่สุขเกิดขึ้นจากการทำจาคะ ดังนั้น บุคคลย่อมมีจิตกุศลในการทำจาคะนั้น มีศรัทธาในการทำจาคะนั้น บุคคลย่อมจะเข้าสู่พุทธภูมิโดยง่ายอย่างเป็นธรรมชาติ มีธาตุธรรมฝ่ายพุทธภูมิที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ มีความเป็นผู้นำที่ดี พร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อมหาชน อันแตกต่างจากปัจเจกภูมิ ที่ดีแต่เอาตัวรอดคนเดียว หรือมารที่ดีแต่ครอบงำนำคนไปผิดทาง

    <O:p</O:pปัจจุบัน ผู้นำในองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เรียกได้ว่ามี “จาคะ” จริงๆ มีไม่ถึง ๑% <O:p</O:p
     
  6. ฟิล์มนรกภูมิ

    ฟิล์มนรกภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +669
    วานไปสอนเจ้านายนู๋หน่อยได้ไหมเจ้าค่ะ
    เบื้อเบื่อ วันๆ เอาแต่สอนลูกน้อง ไม่เคย
    สั่งสอนตัวเองมั่ง ถือตัวเป็นหัวหน้า ตนเอง
    ทำผิดไม่เป็นไร พอลูกน้องทำผิดกลายเป็นโทษหนัก


    นู๋เบื่อหัวหน้ามั้กๆๆๆๆ เจ้าค่า (evil2)
     

แชร์หน้านี้

Loading...