เรื่องเด่น สมาธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แปลกและพิสดารมาก / หลวงปู่หลุย จันทสาโร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 10 ธันวาคม 2021.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ?temp_hash=1e01539e9768581687cffa310ef85c0d.jpg




    *สมาธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แปลกและพิสดารมาก **

    ทั้งขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ


    คือขณะจิตรวมเป็น "ขณิกสมาธิ" แล้วตั้งอยู่ได้ขณะเดียว.แต่มิได้ถอนออกมาเป็นจิตธรรมดาหากแต่ถอนออกมาสู่ "อุปจารสมาธิ" แล้วออกรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่มีประมาณ
    "บางครั้ง" เกี่ยวกับพวกภูตผี เทวบุตร เทวธิดา พญานาคต่าง ๆ นับภพนับภูมิได้ที่มาเกี่ยวข้องกับสมาธิประเภทนี้
    ซึ่งท่านใช้รับแขกจำพวก มีรูปไม่ปรากฏด้วยตามีเสียงไม่ปรากฏด้วยหู มาเป็นประจำ
    บางครั้งจิตก็เหาะลอยออกจากกายแล้วเที่ยวชมสวรรค์วิมานและพรหมโลกชั้นต่าง ๆ และลงไปเที่ยวดูภพภูมิของสัตว์นรกที่กำลังเสวยกรรมมีประเภทต่างกันอยู่ที่ที่ทรมานต่าง ๆ กันตามกรรมของตน
    "ส่วนอุปจารสมาธิ" ของท่านรู้สึกเริ่มเกี่ยวพันกันกับขณิกสมาธิมาแต่เริ่มแรกปฏิบัติ เพราะจิตท่านเป็นจิตที่ว่องไวผาดโผนมาดั้งเดิม เวลารวมลงเพียงขณะเดียวที่เรียกว่าขณิกสมาธิ ก็เริ่มออกเที่ยวรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในวงของอุปจาระ จนกระทั่งท่านมีความชำนาญและบังคับให้อยู่กับที่หรือให้ออกรู้ รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ได้แล้ว จากนั้นท่านต้องการจะปฏิบัติต่อสมาธิประเภทใดก็ได้สะดวกตามต้องการ คือจะให้เป็น "ขณิกะ" แล้วเลื่อนออกมาเป็น "อุปจาระ" เพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือจะให้ "รวมสงบลงถึงฐานสมาธิ" อย่างเต็มที่. ที่เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" แล้ว "พักอยู่ในสมาธินั้น" ตามต้องการก็ได้
    "อัปปนาสมาธิ" เป็นสมาธิที่สงบละเอียดแนบแน่นและเป็นความสงบสุขอย่างพอตัว ผู้ปฏิบัติจึงมีทางติดสมาธิประเภทนี้ได้ ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเล่าว่า ท่านเคยติดสมาธิประเภทนี้บ้างเหมือนกัน แต่ท่านเป็นนิสัยปัญญาจึงหาทางออกได้ ไม่นอนใจและติดอยู่ในสมาธิประเภทนี้นาน ผู้ติดสมาธิประเภทนี้ทำให้เนิ่นช้าได้เหมือนกัน ถ้าไม่พยายามคิดค้นทางปัญญาต่อไป นักปฏิบัติที่ติดอยู่ในสมาธิประเภทนี้มีเยอะแยะ เพราะเป็นสมาธิที่เต็มไปด้วยความสุข ความเยื่อใยและอ้อยอิ่งน่าอาลัยเสียดายอยู่มาก. ไม่คิดอยากแยกตัวออกไปทางปัญญา. อันเป็นทางถอนกิเลสทั้งมวล ถ้าไม่มีผู้ฉลาดมาตักเตือนด้วยเหตุผลจริง ๆ จะไม่ยอมถอดถอนตัวออกมาสู่ทางปัญญาเอาเลย
    เมื่อจิตติดอยู่ในสมาธิประเภทนี้นานไป อาจเกิดความสำคัญตนไปต่าง ๆ ได้ เช่น สำคัญว่านิพพานความสิ้นทุกข์ ก็ต้องมีอยู่ใน "จุดแห่งความสงบสุขนี้" หามีอยู่ในที่อื่นใดไม่ดังนี้
    ความจริง "จิตที่รวมตัวเข้าเป็นจุดเดียว" จนรู้เห็น "จุดของจิตได้" อย่างชัดเจนและรู้เห็นความสงบสุขประจักษ์ใจในสมาธิขั้นอัปปนานี้ เป็นการ "รวมกิเลสภพชาติอยู่ในจิตดวงนั้นด้วย"
    ในขณะเดียวกันถ้าไม่ใช้ปัญญาเป็นเครื่องบุกเบิกทำลาย ก็มีหวัง "ตั้งภพชาติอีกต่อไปโดยไม่ต้องสงสัย"
    ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติในสมาธิขั้นใดก็ตาม ปัญญาจึงควรมีแอบแฝงอยู่เสมอตามโอกาสที่ควร เฉพาะอัปปนาสมาธิด้วยแล้ว ควรใช้ปัญญาเดินหน้าอย่างยิ่ง ถ้าไม่อยากรู้อยากเห็นจิตที่มีเพียงความสงบสุขอยู่อย่างเดียว ไม่มีความฉลาดรอบตัวเลยเท่านั้น
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถร
    วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
    จากบันทึก หลวงปู่หลุย จันทสาโร

    https://web.facebook.com/JD.PHADANG/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ?temp_hash=99912fef0456d756b08819d675b61672.jpg


    #ปริศนาธรรมท่านพระอาจารย์มั่น_ภูริทตฺตเถร
    “ ไม้ซกงก หกพันง่า
    กะปอมก่าแล่นขึ้น มื้อละฮ้อย
    กะปอมน้อยแล่นขึ้น มื้อละพัน
    ตัวใด๋มาบ่ทัน แล่นขึ้นนําคู่มื้อๆ ”
    หลวงปู๋อ่อน ญาณสิริ เล่าให้อาตมา(หลวงปู่อว้าน เขมโก) ฟังว่า...
    ท่านพระอาจารย์มั่นจะพูดอะไร ท่านจะพูดเป็นปัญหาธรรมะ คำพูดของท่านพระอาจารย์มั่นนั้นจะพูดอย่างไรก็ต้องแปล แปลว่าอย่างไร หมายความว่าอย่างไร
    คําที่กล่าวเป็นภาษาอีสาน เป็นคําพังเพย คําผญา (คำผะหญา) แปลว่า ปัญญา ปรัชญา ความฉลาด) นี้เป็นธรรมะของท่านพระอาจารย์มั่น ที่จะกล่าวเป็นปริศนาธรรม โดยจะต้องมีการตีความ เช่น
    #ไม้ซกงก ได้แก่ตัวของเรานี่แหละ ร่างกายของเรานี่แหละ
    #หกพันง่า หมายถึง อายตนะทั้ง ๖ นั่นเอง
    #กะปอมก่า คือ กิเลสตัวใหญ่ (คือ รัก โลภ โกรธ หลง) อันแก่กล้านั่นแหละ
    #แล่นขึ้น_มื้อละฮ้อย (มื้อละร้อย) มันวิ่งขึ้นใจคนเราวันละร้อย
    #กะปอมน้อยแล่นขึ้น_มื้อละพัน คือ กิเลสที่มันเล็กน้อย ก็วิ่งขึ้นสู่ใจ วันละพัน
    #ตัวใด๋มาบ่ทัน_แล่นขึ้นนําคู่มื้อๆ กิเลสที่ไม่รู้ไม่ระวัง ก็จะเกิดขึ้นทุกวันๆ
    " หินก้อนล้านหนักหน่วงเสมอจิต เอาสโน มาติด คือสิซังซากันได้
    บัดเฮาเอาตาซ้ายแนเบิ่ง (เล็งดู) คือสิหนักไปทางสโน "
    นักปราชญ์เมืองอุบลราชธานีเขาเรียนสนธิ์เรียนมูลจนเขาผูกเป็นปัญหา หมอลําเขาเอา ไปลํานะ ผูกเป็นปัญหาไปถามให้เขาตอบ ใครตอบได้ก็เก่ง ตอบไม่ได้ก็ไม่เก่ง เขาผูกเป็นปัญหา คือ เขาเรียนสนธิ์เรียนมูลจบ ผูกเป็นปัญหาธรรมได้ ผูกเป็นปัญหาถามคนอื่นให้เขาตอบ ถ้าเขาติด(ตอบไม่ได้) ก็ไม่เก่ง ถ้าคนไหนไม่ติดก็เก่งละ ภาษาบาลี สีลํ ก็แปลว่า ศีล , สิลา แปลว่า หิน
    #หินก้อนล้านหนักหน่วงเสมอจิต จิตอันเดียวที่ไปยึดมั่นถือมั่น เรียกว่าหนักหน่วง เสมอจิต
    #เอาสโนมาติด_คือสิซังซากันได้ สโน - มโน แปลว่าใจ
    ใจนี่เดี๋ยวมันก็ส่ายหาความรัก เดี๋ยวมันก็ส่ายหาความชัง มันเอียงอยู่อย่างนั้น มันไม่ตรง
    #เอาสโนมาติดคือสิซังซากันได้ #บัดเฮาเอาตาซ้ายแนเบิ่ง_คือสิหนักไปทางสโน
    #สโน สโนแปลศัพท์ (สโน หมายถึง ไม้โสน(สะโหน)เป็นไม้มีลักษณะเบาๆ หรือหมายถึง หินก้อนใหญ่มีน้ำหนักมาก แต่ก็สามารถยกขึ้นได้
    #ส่วนโสน (สะโหน) หมายถึง มโน-จิตใจ ดูเหมือนเป็นของเบา แต่เมื่อยึดติดอะไรแล้วก็ยากที่จะยกออก)
    #มโน ก็แปลว่าใจ ใจของเรานี่แหละสโนนั่น แต่ใจของคนเรามันไม่ตรง เดี๋ยวก็เอียงหาความรัก เดี๋ยวก็เอียงหาความชัง คําว่าส่ายนะมันเอียง
    (#ซังซา หมายถึง เอาหินไว้ข้างหนึ่ง แล้วเอาไม้โสนไว้อีกข้างหนึ่ง ชั่งดูความหนักเปรียบเทียบกัน)
    ใจมันเป็นอย่างนั้น ท่านจึงให้มีสติ สํารวมดูใจ ดูจิตใจของเรา ขณะเราพูด จิตของเราใจของเรามันเอียงไปทางไหนแล้ว ถ้าเอียงไปทางความรัก เอียงไปทางความชัง ก็ผิดทาง ท่านให้สํารวม”
    สโน สโนนี่เป็นของเบา ถ้าจะว่าตามภาษาทางนี้ เพราะสโน (ไม้โสน) มันเกิดในน้ำ ไม้สโน เขาเอามาทําจุกขวด มันไม่แตก มันอ่อน ไม้นั้นมันอ่อน ทําจุกขวดมันไม่แตก ขวดไม่แตกมันอ่อนมันนิ่ม ไม้นั้นเป็นของเบา
    “ กล้วย ๔ หวี
    จัวน้อยนั่งเฝ้า
    พระเจ้านั่งฉัน ”
    #กล้วย๔หวี ได้แก่ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม
    #จัวน้อยนั่งเฝ้า (จัวน้อย คือ สามเณรน้อย) หมายถึง คนที่โง่เขลาเบาปัญญา ไม่รู้เท่าทัน ตามหลักของธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นั่งเฝ้าตัวเองอยู่ ไม่รู้ว่าในตัวของตนนั้นมีอะไรบ้าง กินแล้วก็นอน
    #พระเจ้านั่งฉัน หมายถึง พระอริยเจ้าทั้งหลายที่รู้หลักความจริงอันประเสริฐ เมื่อภาวนาได้ที่แล้ว ก็เอาธาต ๔ (กล้วย ๔ หวี) มาพิจารณาตามหลักแห่งความเป็นจริง จนท่านเหล่านั้นสําเร็จคุณธรรมเบื้องสูง คือ พระอรหันต์ ท่านไม่นั่งเฝ้าอยู่เฉยๆ
    ท่านพระอาจารย์มั่น มักจะสอนศิษย์เป็นปริศนาธรรม เป็นต้นว่า
    “พระสูตร - เป็นตัวกลอง
    พระวินัย - เป็นหนังรัด
    พระปรมัตถ์ - เป็นผืนหนัง
    จตุทณฺฑ์ - เป็นไม้ฆ้อน ที่ประกาศก้องกังวาน
    #กลองจะดังก็ต้องอาศัยหนังรัดตึง_ถ้าหนังรัดหย่อนตีได้ก็บ่ดัง
    (คําว่า กลอง ภาษาไทยอีสาน ออกเสียงเป็น “กอง” )
    การส่งเสริมเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะให้เจริญแพร่หลายขยายกว้างไกล ก็ต้องอาศัย การศึกษาให้เข้าใจกระจ่างแจ้งในพระสูตร พระภิกษุก็ต้องมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดตามพระวินัย พิจารณาทําความเข้าใจให้ปรุโปร่งในพระปรมัตถ์ ทําความเข้าใจศึกษาแต่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดไม่ได้ ถ้าทําเช่นนั้น ความเจริญของพระพุทธศาสนาในจิตใจคนจะหด เสื่อมถอยลง เหมือนตีกลองไม่ดังกังวาน เพราะสายรัดกลองหย่อนยาน
    คําว่า “กลอง” ท่านหมายถึง กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ
    “จตุ” แปลว่า สี่ กองรูป ขึ้นชื่อว่ารูป ก็มีธาตุทั้ง ๔ ท่านยกเอามาตีความทั้งหมด ตีให้มันแตก
    เวทนา ก็มีอยู่ในรูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีอยู่ในรูป ถ้าตีไปที่อื่นก็ไม่ถูกตัวกลอง (กอง) ต้องยกเอากองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ มาตี(ตีความ)
    ถ้าตีถูกตัวกลอง กลองจะดังก้องกังวานทั่วเมืองไทย ตีลงไปในกองรูป ให้ตีความลงในธาตุ ทั้ง ๔ ตัวคนประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เมื่อเข้าใจแล้วก็ไม่หลงยึดในตัวตนต่อไป
    #ผู้มีปัญญาจงพิจารณารู้เองเถิด
    หลวงปู่อว้าน เขมโก
    วัดป่านาคนิมิตต์ จังหวัดสกลนคร
    คัดลอกจากหนังสือ วัดป่านาคนิมิตต์ ; หน้า ๒๔๐ – ๒๔๒

    150ปี ชาติกาล หลวงปู่มั่น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,283
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ถ้ำดอกคำ หลวงปู่มั่นบรรลุธรรม


    ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เดินทางไปบำเพ็ญภาวนา ณ ถ้ำดอกคำ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ มีหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ร่วมบำเพ็ญภาวนา ในเย็นวันหนึ่งขณะที่ท่านปฏิบัติภาวนา ท่านมีความรับรู้อยู่กับปัจจัยการ คือ อวิชชา ปจฺจยา สงฺขารา เพียงอย่างเดียว เวลาผ่านไปตีสาม ปรากฏว่าอวิชชา ซึ่งเป็นข้าศึกที่เคยฉลาดในเชิงหลบหลีกอาวุธอย่างว่องไว กลับถูกมหาสติ มหาปัญญา อันเป็นอาวุธคมกล้าของท่าน ประหารจนสิ้นชาติขาดภพเหลือแต่วิสุทธิธรรมภายในใจ อันเป็นธรรมชาติแท้วิ่งแผ่กระจายไปทั่วโลกธาตุในเวลานั้น เสียงเทวบุตรเทวธิดาทั่วโลกธาตุประกาศก้องสาธุการศิษย์ตถาคตปรากฏขึ้นในโลกอีกองค์นึงแล้ว
    หลวงตามหาบัวได้เล่าถึงประสบการณ์การเข้าถึงพระนิพพานของหลวงปู่มั่น
    สิ่งที่หลวงตามหาบัวได้บรรยายเอาไว้นั้นนับว่าเป็นที่ท้ายทายความเชื่อเรื่อง “นิพพาน” ตามแบบจารีตเป็นอย่างยิ่ง
    สำนวนเล่าของ หลวงตามหาบัวได้ให้รายละเอียดมากมายเกี่ยวกับ “สภาวะจิต” ของหลวงปู่มั่นในช่วงที่กำลังจะข้ามพ้นไปสู่ภูมิแห่ง “โลกุตตระ” รวมทั้งเหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาหลังจากค่ำคืนแห่งการรู้แจ้ง
    “ท่านพระอาจารย์มั่นมีนิสัยผาดโผนมาดั้งเดิมนับแต่เริ่มปฏิบัติใหม่ๆ แม้ขณะจิตจะเข้าถึงจุดอันเป็นวาระสุดท้ายก็ยังแสดงลวดลายให้องค์ท่านเองระลึกอยู่ไม่ลืม ถึงกับได้นำมาเล่าให้บรรดาลูกศิษย์ฟังพอเป็นขวัญใจ คือ พอจิตพลิกคว่ำวัฏจักรออกจากใจโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังแสดงขณะเป็นลักษณะฉวัดเฉวียนเวียนรอบตัว วิวัฏฏจิตถึงสามรอบ
    รอบที่หนึ่งสิ้นสุดลง แสดงบทบาลีขึ้นมาว่า ‘โลโป’ บอกความหมายขึ้นมาพร้อมว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้นคือการลบสมมุติทั้งสิ้นออกจากใจ
    รอบที่สองสิ้นสุดลง แสดงคำบาลีขึ้นมาว่า ‘วิมุตติ’ บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้นคือความหลุดพ้นอย่างตายตัว
    รอบที่สามสิ้นสุดลง แสดงคำบาลีขึ้นมาว่า ‘อนาลโย’ บอกความหมายขึ้นมาว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้นคือการตัดความอาลัยอาวรณ์โดยสิ้นเชิง
    นี่คือธรรมที่แสดงในจิตท่านขณะแสดงลวดลายเป็นขณะสามรอบจบลง อันเป็นวาระสุดท้ายแห่งสมมุติกับวิมุตติทำหน้าที่ต่อกัน และแยกทางกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา …”


    เมื่อหลวงปู่มั่นทำลายสังสารวัฏลงได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ท่านก็ยังเล่าต่อไปอีกว่า ขณะนั้นเหมือนโลกธาตุทั้งมวลบังเกิดความเลื่อนลั่นหวั่นไหว
    เทวบุตรและเทวธิดาทั่วทั้งหมดนั้นต่างก็ประกาศก้องสาธุการ เสียงสะเทือนสะท้านไปทั่วทั้งจักรวาล ทั้งในคืนนั้นและคืนถัดมา เหล่าเทพทั้งหลายต่างก็มาปรากฏกายเพื่อขอเยี่ยมคารวะและฟังธรรมเทศนา

    “… ในคืนวันนั้น ชาวเทพทั้งหลายทั้งเบื้องบนชั้นต่างๆ ทั้งเบื้องล่างทุกสารทิศทุกทาง หลังจากพร้อมกันให้สาธุการประสานเสียงสำเนียงไพเราะเสนาะโสตจนสะเทือนโลกธาตุเพื่อประกาศอนุโมทนากับท่านแล้ว ยังพร้อมกันมาเยี่ยมฟังธรรมจากท่านอีกวาระหนึ่ง แต่ท่านไม่มีเวลารับแขก เพราะภารกิจเกี่ยวกับธรรมขั้นสูงสุดยังไม่ยุติลงเป็นปกติ …
    ในคืนต่อมา ชาวเทพทั้งหลายที่มีความหิวกระหายในธรรมได้พากันมาเยี่ยมท่านเป็นพวกๆ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างแทบทุกทิศทาง
    ต่างพวกก็มาเล่าความอัศจรรย์แห่งรัศมีและอานุภาพแห่งธรรมของคืนวันนั้นให้ท่านฟังว่า เหมือนสวรรค์วิมาน พิภพ ครุฑ นาค เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ทุกชั้นภูมิในแดนโลกธาตุสะเทือนสะท้านหวั่นไหวไปตามๆ กัน พร้อมกับความอัศจรรย์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนส่งแสงสว่างไปทั่วแดนโลกธาตุ ไม่มีอะไรปิดบัง เพราะความสว่างไสวแห่งธรรมที่พุ่งออกมาจากกายจากใจของพระคุณเจ้ายิ่งกว่าความสว่างของดวงอาทิตย์ร้อยดวงพันดวงเป็นไหนๆ …”
    หลังจากเหตุการณ์ที่เทพทั้งหลายแวะเวียนกันเข้ามาเปล่งสาธุการและขอฟังธรรมเทศนาจากหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงตามหาบัวก็ยังเล่าถึงอีกเหตุการณ์หนึ่งเป็นกรณีพิเศษด้วย. เหตุการณ์ที่ว่านี้ก็คือ ผู้ที่เป็น “คู่บารมี” ของหลวงปู่มั่นทุกภพทุกชาติได้เดินทางมาพบท่านหลังจากที่บรรลุธรรมแล้ว
    หลวงปู่มั่นเล่าให้หลวงตามหาบัวฟังถึง “คู่บารมี” ท่านนี้ว่า ตั้งแต่สมัยที่ภูมิธรรมของท่านยังไม่ถึงระดับพระอรหันต์ “คู่บารมี” นี้ได้แวะมาเยี่ยมท่านทางสมาธิภาวนาเสมอ แต่ก็มาในรูปของ “ดวงวิญญาณ” ไม่ปรากฏร่างกายให้เห็นเหมือนกับที่ภพภูมิอื่นๆ เขาเป็นกัน
    เมื่อหลวงปู่มั่นถาม ดวงวิญญาณนั้นก็ตอบว่า ที่ยังไม่ได้ไปเกิดในภพภูมิที่เป็นหลักแหล่ง เช่น โลกมนุษย์หรือแดนสวรรค์ แต่ยังคงวนเวียนอยู่ใน “ภพย่อย” ที่ละเอียดภพหนึ่งในระหว่างภพทั้งหลาย ก็เพราะว่ายังเป็นห่วงและอาลัยในตัวหลวงปู่มั่นอยู่
    อีกทั้งยังกลัวว่าท่านจะหลงลืมความสัมพันธ์แต่หนหลังและความปรารถนา “พุทธภูมิ” ที่เคยตั้งไว้ร่วมกัน ประหนึ่งเป็น “คำสัญญา” ที่เคยมีต่อกันมานานแสนนานในสังสารวัฏอันไกลโพ้นนี้ (ซึ่งหลวงปู่มั่นก็บอกว่า บัดนี้ท่านได้ของดความปรารถนาในพุทธภูมิแล้ว และขอมุ่งมั่นปฏิบัติตนเพื่อพ้นทุกข์ให้ได้ในชาตินี้)
    หลวงปู่มั่นเล่าว่า ยามใดที่ดวงวิญญาณนี้มาพบ ท่านก็แสดงธรรมให้พอสมควร แล้วก็สั่งให้กลับไป และยังบอกอีกว่าอย่ามาบ่อย แม้ว่าไม่อยู่ในวิสัยที่จะสร้างความเสียหายต่อกันได้แล้ว แต่ก็อาจเป็นเหตุให้การปฏิบัติล่าช้าได้ ซึ่งในครั้งสุดท้ายที่ดวงวิญญาณนี้มาพบเกิดขึ้นหลังจากที่หลวงปู่มั่นบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วนั่นเอง
    ดวงวิญญาณกล่าวกับหลวงปู่มั่นในวันนั้นว่า ในคืนที่ท่านตัดขาดภพชาติและทุกข์ทั้งปวงจนรู้กันไปทั่วทุกแห่งหนในโลกธาตุ แต่แทนที่จะชื่นชมยินดีและอนุโมทนาสาธุการ ตนกลับรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่าท่านทิ้งตนโดยไม่เหลียวแล
    หลวงปู่มั่นจึงสนทนาโต้ตอบกับดวงวิญญาณนั้นด้วยความเมตตา กระทั่งดวงวิญญาณเกิดความเข้าใจจนสามารถสลัดตนให้หลุดจากความห่วงหาอาลัย และลาจากไปในที่สุด
    หลังจากนั้นไม่นาน ดวงวิญญาณนั้นได้กลับมาพบหลวงปู่มั่นอีกครั้ง แต่คราวนี้เป็นการกลับมาในร่างของเทวดาผู้งามสง่าที่มาพร้อมกับความสำนึกซาบซึ้งในพระคุณของหลวงปู่มั่นว่า เหตุที่ตนได้เสวยสุขอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นล้วนเป็นผลมาจากการที่หลวงปู่มั่นมักจะชักชวนให้สร้างบุญสร้างกุศลตลอดระยะเวลาที่ได้ครองคู่อยู่ร่วมภพชาติกันนั่นเอง
    ก่อนเล่าเรื่องนี้ หลวงตามหาบัวกล่าวว่า แม้จะเป็นเรื่องภายในที่ “อาจารย์” กับ “ลูกศิษย์” บอกกล่าวต่อกันเป็นการส่วนตัว แต่หลวงตามหาบัวเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการบรรลุธรรมของหลวงปู่มั่นด้วย ถ้าข้ามไปก็อาจทำให้ขาดเรื่องที่จะเป็นข้อคิดแก่ผู้อ่าน
    จากนั้นหลวงปู่มั่น ท่านได้ธุดงค์ไปที่ดอยนะโม และได้พูดกับลูกศิษย์ท่านหนึ่ง คือหลวงปู่ขาว อนาลโย ว่า "ผมหมดงานที่จะทำแล้ว ก็อยู่ช่วยสานกระบุงตะกล้าพอช่วยเหลือพวกท่าน และลูกศิษย์ลูกหาได้บ้างเท่านั้น"
    หลวงปู่มั่น ท่านออกวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่เชียงใหม่นานถึง ๑๑ ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๗๒-๒๔๘๒ ก่อนที่จะกลับไปทางอีสาน หลวงปู่มั่น ท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ประเภท ปฏิสัมภิทานุศาสน์ ๔ อย่างคือ
    ๑.อัตตปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในอรรถ
    ๒.ธัมมปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในธรรม
    ๓.นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในภาษา
    ๔.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ แตกฉานในปฏิภาณ
    . . ......... . ......... . ......... . ......... . .
    และที่ "ถ้ำดอกคำ" แห่งนี้ยังมีตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลก พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาถึงถ้ำนี้ เพื่อโปรดยักษ์ สองผัวเมีย ผู้เป็นมิชฉาทิฏฐิ โดยยักษ์ฝ่ายผัว ตั้งใจจะจับพระพุทธเจ้าไปเป็นอาหาร แต่พระองค์ทรงปราบด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ยักษ์สองผัวเมียสำนึกบาป จึงแต่งขันธ์ มีดอกบัวคำอยู่ในพานมากล่าวขอขมาพระพุทธเจ้าที่ถ้ำนี้ ถ้ำนี้จึงชื่อ “ถ้ำดอกคำ” แต่นั้นมา
    Cr.ท้องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน
    d08meP6ACaMIfD19etRww3ouGxF5lR2w2&_nc_ohc=uuBl4JAMtEcAX_UjXkb&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-3.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...