เรื่องเด่น บทสวดมนต์พุทธชัยมงคลคาถา ลดดีกรีความเศร้าเติมความสุข

ในห้อง 'ประสบการณ์ ผลของการสวด' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 4 กุมภาพันธ์ 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    e0b899e0b895e0b98ce0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b88ae0b8b1e0b8a2e0b8a1e0b887e0b884e0b8a5e0b884e0b8b2.jpg

    สวดกี่ทีก็ไม่เบื่อกับบทสวดมนต์ เติมกำลังใจให้กับคนวัยหลัก 6 เพราะในฐานะชาวพุทธย่อมหนีไม่พ้นเรื่องของการน้อมนำหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะบทสวดมนต์เรียบง่าย แต่สอดแทรกแง่คิดในการเติมความสุข และเสริมกำลังใจให้คนวัยเก๋า ที่สำคัญยังเป็นบทสวดมนต์ที่มีความหมายลึกซึ้งเกี่ยวกับการตรัสรู้ด้วยชอบของพระพุทธเจ้า ที่เน้นเรื่องการปล่อยวาง กระทั่งวางตัวเองให้อยู่เหนือกิเลสทั้งปวง ซึ่งผู้สูงอายุหรือแม้แต่คนทั่วไปสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ล่าสุด แม่ชีประทิน ขวัญอ่อน นายกสมาคม สถาบันแม่ชีไทย มาให้ข้อมูลเกี่ยวบทสวดมนต์ ที่ผู้สูงอายุสามารถสวดเองที่บ้าน หรือแม้แต่การเปิดทีวีช่องพระพุทธศาสนา ที่มีคำแปลและสวดตาม ก็เป็นอีกวิธีช่วยทำให้จิตใจสงบ หรือ เป็นการเตรียมพร้อมของจิต ก่อนที่จะออกไปทำงาน หรือกิจกรรมประจำวัน ที่คนวัยหลัก 6 ชื่นชอบและสนใจ

    b899e0b895e0b98ce0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b88ae0b8b1e0b8a2e0b8a1e0b887e0b884e0b8a5e0b884e0b8b2-1.jpg

    (ประทิน ขวัญอ่อน)

    แม่ชีประทิน ขวัญอ่อน บอกว่า “สำหรับบทสวดมนต์อันแรกที่เหมาะกับผู้สูงอายุ คือ “บทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย” เพื่อระลึกถึงความดีของ “พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์” ที่เริ่มจากการท่องว่า “อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) (คำแปลคือ พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ),สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ) (คำแปล พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ), สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ) (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ) ทั้งนี้หากผู้สูงอายุสวดมนต์บทนี้ ก็จะทำให้จิตตั้งมั่นและเข้าใจความหมายของคำแปลโดยรวม คือการที่พระพุทธเจ้านั้นท่านทรงตรัสรู้โดยชอบ และน้อมนำเรื่องของการรู้จักการปล่อยวาง และละวางใจได้ เมื่อนั้นผู้สวดก็จะรู้สึกเป็นสุข และเกิดความปีติใจ เมื่อนึกถึงพระคุณขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สอนเรื่องการไม่ยึดติดกับสิ่งๆ ต่าง

    b899e0b895e0b98ce0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b88ae0b8b1e0b8a2e0b8a1e0b887e0b884e0b8a5e0b884e0b8b2-2.jpg

    “เหตุผลที่บทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยทั้ง 3 จบดังกล่าว เหมาะกับผู้สูงอายุนั้น เพราะว่าบางครั้งการที่คนวัยหลัก 6 หลัก 7 กระทั่งหลัก 8 ที่บางครั้งท่านไม่สามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนเดิม เช่น เรื่องของการเป็นห่วงลูกหลานมากเกินไป กระทั่งทำให้ความหงุดหงิด หรือรำคาญใจอีกทั้งไม่สบายใจ หากว่าลูกหลานไม่เชื่อฟัง หรือไม่ทำตามคำแนะนำของท่าน ซึ่งบทสวดมนต์นี้จะสอนเรื่องการปล่อยวาง และช่วยให้ผู้สวดมนต์ ทำใจยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นแบบเข้าใจโดยไม่หงุดหงิดและไม่เครียด โดยเฉพาะเรื่องความกังวล ที่มาจากเป็นห่วงลูกหลานมากเกินไป ที่สำคัญก็จะทำผู้สูงวัยรู้จัก การชี้แนะบุตรหลานแบบเป็นไปตามวิสัยหรือธรรมชาติของเด็ก ซึ่งไม่ใช่การบ่นหรือการต่อว่าเด็ก ซึ่งอันที่จริงผู้สูงอายุสามารถสวดตอนไหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับเวลาที่จะต้องการจะจัดสรรการสวดมนต์ด้วยตัวเอง และจะให้เวลา 10-20 หรือ 30 นาที กระทั่งเป็นชั่วโมงก็สามารถทำได้ แบบไม่มีข้อจำกัด ที่สำคัญสามารถเปิดทีวีช่องพระพุทธศาสนา (DLTV) ซึ่งมีช่วงเย็นประมาณ 6 โมงเย็น ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ และสวดมนต์บทนี้ตามก็ได้ ซึ่งในทีวีจะมีคำแปลให้ ก็ยิ่งทำให้ผู้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น และทำให้ซาบซึ้งใจมากขึ้น หรือจะเลือกเปิดบทสวดมนต์นี้ในช่องทางยูทูบ และสวดตามก็ได้เช่นกัน”

    b899e0b895e0b98ce0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b88ae0b8b1e0b8a2e0b8a1e0b887e0b884e0b8a5e0b884e0b8b2-3.jpg

    (ผู้สูงอายุสวดมนต์อย่างสม่ำเสมอ ช่วยเติมกำลังใจ และสร้างความอิ่มเอมใจ ด้วยบทสวดมนต์ความหมายดี ที่เน้นการปล่อยวาง และเอาชนะกิเลสด้วยความอดทนอดกลั้น)

    นายกสมาคม สถาบันแม่ชีไทย บอกว่า หากผู้สูงอายุคนไหนที่ไม่ชอบการสวดมนต์บทยาวๆ ก็สามารถท่องแบบภาวนา “พุทโธ” สั้นๆ แต่สวดไปเรื่อยๆ ก็ได้เช่นเดียวกัน เพราะจะทำให้จิตของผู้สวดนิ่ง และสงบมากยิ่งขึ้น เมื่อนั้นสติก็จะมา หรือแม้แต่การเลือก “สวดมนต์บทพาหุงมหากา” หรือ “บทสวดมนต์พุทธชัยมงคลคาถา” ที่มีอยู่หลายตอนให้เลือก อาทิ “พาหุง สะหัสสะมะภินิม มิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง ทานาทิธัม มะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ” หรือ “มาราติเร กะมะภิยุ ชฌิตะสัพรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมัก ขะมะถัทธะยักขัง ขันตีมุทัน ตะวิธีนา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ” เป็นต้น

    “หากผู้สูงอายุเลือกสวดมนต์บทนี้เป็นประจำยามว่างนั้น ก็จะช่วยทำให้เกิดความสุขและอิ่มใจ เพราะมีเนื้อหาโดยรวมเกี่ยวกับการที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะมาร หรือกิเลสทั้งหลายทั้งปวง โดยความอดทนอดกลั้น และตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง อีกทั้งพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ควรแจกจ่ายให้กับพุทธศาสนิกชน เนื่องจากเป็นธรรมะ ที่ได้จากการพระองค์ทรงปฏิบัติตนเองอย่างรู้แจ้งเห็นจริง หรือทำให้ผู้สูงอายุเอาชนะความทุกข์ ความเศร้าหมอง ด้วยธรรมะของพระพุทธเจ้า ด้วยบทสวดมนต์นี้ ที่สำคัญมีให้เลือกหลายตอนค่ะ”

    นอกจากการสวดมนต์ จะไม่ใช่เรื่องเบื่อแล้ว แต่ทว่ายิ่งปฏิบัติภาวนา ก็ยิ่งเพิ่มความสงบให้กับจิตใจ เพราะมนต์แต่ละบทนั้น ล้วนสอดแทรกคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เน้นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อให้ห่างไกลจากความทุกข์ความเศร้าหมอง ที่ล้วนมาจากการคาดหวังที่มากเกินไป กระทั่งหมกหมุ่นจนเกิดเป็นเครียดความกังวล ซึ่งบางคนก็หาทางออกไม่ได้ กระทั่งเลือกตัดช่องน้อยแต่พอตัว แต่หลายคนก็ปรับตัวได้ จากการเข้าหาธรรมะ…กระนั้นแล้วการสวดมนต์บทที่เติมกำลังใจ และเสริมมงคลให้ชีวิต ก็เป็นการสร้างสุขอย่างง่ายๆ ด้วยหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ “ธรรมะ เนเวอร์ดาย”…ว่าไหมค่ะ.

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thaipost.net/main/detail/56182
     

แชร์หน้านี้

Loading...